2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์
71 ที่ชัดเจน ทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้ที่เข้าทำสัญญาเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ผลการวิจัยพบว่า ใน ประเทศที่เจริญแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย ประเทศดังกล่าวนั้นมีกฎหมายควบคุม การประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์โดยตรง บุคคลที่จะเป็นนายหน้าอสังหาริมทรัพย์จะต้อง ได้รับใบอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อน แม้ว่าการมีกฎหมายควบคุมนายหน้าจะจำกัดเสรีภาพใน การประกอบอาชีพนายหน้า แต่ประชาชนก็จะได้รับประโยชน์จากการที่นายหน้ามีคุณสมบัติที่ดีมี ความซื่อสัตย์และมีชื่อเสียงที่ดี ดังนั้น การมีกฎหมายควบคุมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ทำให้มาตรฐาน ความรู้ความสามารถของนายหน้าสูงขึ้น และประชาชนให้ความเชื่อถือนายหน้ามากขึ้น นอกจากนี้ยัง เป็นเครื่องมือสำคัญช่วยลดการฉ้อโกงเกี่ยวกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ลง เนื่องจากนายหน้าอาจต้องถูก พักหรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตได้ งานวิจัยเรื่อง ปัญหาทางกฎหมายของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กรณีศึกษา: กฎหมายควบคุมการ ใช้ที่ดินของเอกชน สิฐิ์วิภา หาญศึกษา (2542) นำเสนอถึงการบัญญัติกฎหมายในพระราชบัญญัติ ต่างๆ เพื่อให้อำนาจทางการปกครองแก่หน่วยงานของรัฐในกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ มีหน้าที่ ควบคุมการใช้ที่ดินของเอกชนนั้นยังไม่สามารถควบคุมและกำกับทิศทางในการใช้ที่ดินของเอกชน เพื่อประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยได้อย่างเหมาะสม ผลการวิจัยพบว่า ควรบัญญัติ กฎหมายเพื่อออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสำหรับควบคุมผู้เกี่ยวข้องกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เช่น ใบอนุญาตผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ใบอนุญาตนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ และใบอนุญาต พนักงานขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะสามารถควบคุมการใช้ที่ดินของเอกชนได้ งานวิจัยเรื่อง ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการตีความสัญญานายหน้า ณัฐนิตา ธรรมกิตติคุณ (2552) นำเสนอถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบังคับใช้และตีความกฎหมายลักษณะนายหน้าตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จากผลการศึกษาพบว่า แม้บทบัญญัติเรื่องสัญญานายหน้าที่มีอยู่ ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยอาจจะไม่มีบัญญัติไว้โดยตรงต่อปัญหาดังกล่าว แต่เมื่อ นำหลักทั่วไปอันได้แก่ กฎหมายลักษณะนิติกรรมและสัญญา และกฎหมายลักษณะหนี้มาปรับใช้กับ ปัญหาที่เกิดขึ้นย่อมสามารถปรับใช้ได้กับประเด็นปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นจากผลของสัญญานายหน้าได้ โดยไม่จำเป็นต้องทำการแก้ไขหรือเพิ่มเติมบทบัญญัติของกฎหมายในส่วนใดอีก เพียงแต่ผู้ใช้กฎหมาย ต้องปรับใช้บทบัญญัติของกฎหมายให้ตรงตามความมุ่งหมายของกฎหมายและสอดคล้องกับประเด็น ปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับสัญญานายหน้า งานวิจัยเรื่อง มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการทำสัญญานายหน้าอสังหาริมทรัพย์ จิตรทิวัส โคตรทัศน์ (2564) นำเสนอถึงปัญหาไว้ด้วยกัน 4 ประเด็น คือ 1) ปัญหาเกี่ยวกับนิยามศัพท์ ของนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ 2) ปัญหาการทำสัญญาเกี่ยวกับการเป็นนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ 3) ปัญหาเกี่ยวกับหน่วยงานที่ทำหน้าที่ควบคุมและดูแลมาตรฐานในการประกอบอาชีพนายหน้า อสังหาริมทรัพย์ และ 4) ปัญหาเกี่ยวกับการจัดตั้งคณะกรรมการที่ทำหน้าที่ในการเสริมสร้าง ควบคุม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3