2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์
72 ยกระดับ และระงับข้อพิพาทในการประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ จากผลการวิจัยพบว่า ควรมีกฎหมายเฉพาะที่เกี่ยวกับการทำสัญญานายหน้าอสังหาริมทรัพย์ประกอบด้วยนิยามศัพท์ของ นายหน้าอสังหาริมทรัพย์ การทำสัญญาเกี่ยวกับการเป็นนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ หน่วยงานที่ทำ หน้าที่ควบคุมและดูแลมาตรฐานในการประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ และการจัดตั้ง คณะกรรมการที่ทำหน้าที่ในการเสริมสร้าง ควบคุม ยกระดับและระงับข้อพิพาทในการประกอบอาชีพ นายหน้าอสังหาริมทรัพย์ งานวิจัยศึกษาเรื่อง มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการประกอบอาชีพนายหน้า อสังหาริมทรัพย์ (เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (AEC)) โชติมา วิริยะชัยพร (2558) นำเสนอ ถึงประเทศไทยไม่มีมาตรการทางกฎหมายควบคุมการประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์อย่างมี ประสิทธิภาพ และอาจทำให้เกิดปัญหาการเลี่ยงภาษีของนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงปัญหาการ ปกป้องสิทธิในการประกอบอาชีพของนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ไทยได้ ผลการวิจัยพบว่า ควรให้ ประเทศไทยมีการผลักดันให้มีการทำข้อตกลงยอมรับร่วมสำหรับวิชาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ของ กลุ่มประเทศประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และกำหนดมาตรฐานกลางเพื่อให้แต่ละประเทศในกลุ่ม ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยนำไปอนุวัติการเป็นกฎหมายภายในของประเทศตนให้สอดคล้องกับ มาตรฐานกลางดังกล่าว และประเทศไทยควรมีการยกระดับอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ให้มี มาตรฐานในระดับวิชาชีพ โดยต้องมีการออกพระราชบัญญัตินายหน้าอสังหาริมทรัพย์ซึ่งสอดรับกับ มาตรฐานกลางเพื่อควบคุมดูแลการประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ต่อไป ดังนั้น งานวิจัยทั้ง 5 เรื่องดังกล่าว เป็นประเด็นปัญหาเกี่ยวกับนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ใน ภาพรวมโดยวิเคราะห์เปรียบเทียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ทั้งกฎหมายไทย และกฎหมายต่างประเทศ รวมไปถึงการใช้บังคับกฎหมายตามสัญญานายหน้าในประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ ประกอบการการเสนอมาตรการควบคุมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์เปรียบดังวิชาชีพ อื่นในประเทศไทย เช่น แพทย์ พยาบาล ทนายความ เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามงานวิจัยดังกล่าวไม่ ครอบคลุมเกี่ยวกับนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงทำการศึกษาเรื่อง มาตรการทางกฎหมาย ในการควบคุมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีประเด็นของผู้ประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ใน การคุ้มครองผู้บริโภคที่ถูกนายหน้าอสังหาริมทรัพย์หลอกลวง โดยศึกษาถึงการคุ้มครองนายหน้า อสังหาริมทรัพย์และผู้บริโภค รวมไปถึงคุณสมบัติในการขึ้นทะเบียนขอรับใบอนุญาตเป็นนายหน้า อสังหาริมทรัพย์เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความเชื่อมั่นและไว้ใจต่ออาชีพนี้ รวมถึง องค์กรที่เข้ามา ควบคุมดูแลนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ และบทลงโทษของนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ในเชิงป้องกันและ การลงโทษสำหรับนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ที่มีพฤติกรรมหลอกลวงและทุจริต งานวิจัยนี้ได้นำเสนอถึง ปัญหาของนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ถึง 4 ประเด็น ได้แก่ (1) ปัญหาการตรากฎหมายควบคุมนายหน้า อสังหาริมทรัพย์ (2) ปัญหาการขึ้นทะเบียนเป็นนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ (3) ปัญหาการขาดองค์กรที่
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3