2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์
74 บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย การศึกษาและวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการค้นหาคำตอบอันเป็นเป้าหมายหลัก คือ มาตรการในการ ควบคุมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ โดยคำตอบดังกล่าวนี้ย่อมจะมาจากการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ ข้อมูล ตามวิธีการวิจัย (Research Methodology) ที่กำหนดไว้ ดังนั้น การเก็บรวบรวมข้อมูลและ การวิเคราะห์หาคำตอบ จึงได้กำหนดระเบียบวิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) และการวิจัย ภาคสนาม (Field Research) ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ข้อมูลที่ได้จากการใช้วิธีการวิจัย มีวัตถุประสงค์ที่จะนำมาวิเคราะห์เพื่อให้มีมาตรการในการควบคุมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ ให้ ผู้บริโภคได้รับความคุ้มครองจากการถูกนายหน้าหลอกลวง โดยมีรายละเอียดดังนี้ 3.1 การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นเอกสาร โดยกำหนดประเภทของเอกสารและประเด็นที่ต้องการ ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ กฎหมายเกี่ยวกับนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ คือ รัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ 2522 พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 พระราชบัญญัติการประกอบ ธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ 2542 พระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าว ทำ พ.ศ 2522 และกฎหมายที่เกี่ยวกับนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศ และเอกสารอื่นที่ เกี่ยวข้องในลักษณะของการทบทวนวรรณกรรมที่เป็นแนวคิด ทฤษฎีและหลักการ รวมทั้งรายงานการ วิจัย ตำราและบทความทั้งของไทยและต่างประเทศ เอกสารที่ทบทวนและวิเคราะห์นั้นได้กำหนด ประเด็นหัวข้อ ดังนี้ 3.1.1 แนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับนายหน้า ที่นำมาใช้ประกอบการวิเคราะห์ ประกอบด้วย แนวคิดในการควบคุมการประกอบอาชีพ แนวคิดเกี่ยวกับการอนุญาต แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค หลักความศักดิ์สิทธิแห่งการแสดงเจตนา หลักการจัดตั้งองค์กร หลักการกำหนดโทษ 3.1.2 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนายหน้าอสังหาริมทรัพย์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3