2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์
75 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ 2522 พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ 2542 พระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ พ.ศ 2522 3.2 การวิจัยภาคสนาม ( Field Research ) การวิจัยภาคสนามเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลมาจากผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง จากนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ที่มีพฤติกรรมหลอกลวงผู้บริโภค ดังนั้น จึงต้องมีกระบวนการในการเก็บ ข้อมูล ซึ่งการศึกษานี้กำหนดระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interviews) 3.2.1 สัมภาษณ์เชิงลึก เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงลึก ด้วยการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงที่ เกี่ยวกับนายหน้า อสังหาริมทรัพย์ที่มีพฤติกรรมหลอกลวงผู้บริโภคโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ตามประเด็นที่กำหนดไว้ ล่วงหน้า และดำเนินการสัมภาษณ์โดยตรงระหว่างผู้วิจัยกับผู้ให้ข้อมูลสัมภาษณ์ 3.2.2 ขอบเขตผู้ให้ข้อมูลสำคัญ หลังจากท่านให้ความยินยอมที่จะเข้าร่วมโครงการวิจัยนี้ ผู้วิจัยจะขอความอนุเคราะห์ให้ท่านช่วย ตอบแบบสัมภาษณ์ 5 ข้อ ตามความเป็นจริงและให้เป็นไปตามวันและเวลาที่ผู้วิจัยกำหนด เพื่อคัด กรองว่าท่านมีคุณสมบัติที่เหมาะสมที่จะเข้าร่วมในการวิจัย โดยผู้วิจัยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก (Convenience Sampling) ที่เป็นลักษณะเจาะจงตามแนวทางของประสพชัย พสุนนท์ (2555) ซึ่ง กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 15 คน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ 1) กลุ่มสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ รวมจำนวน 2 คน เนื่องจากเป็นผู้ส่งเสริมวิชาชีพ นายหน้าอสังหาริมทรัพย์ โดยเป็นผู้จัดให้มีการอบรมและสัมมนา เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานและ เสริมสร้างจรรยาบรรณในการประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ 2) กลุ่มผู้ประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ รวมจำนวน 5 คน เนื่องจากเป็นผู้ที่ไม่มี ใบอนุญาตนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ และไม่ได้เข้าร่วมสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ เพื่อหา แนวทางในการกำหนดทิศทางอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ให้มีมาตรฐานและจรรยาบรรณใน ประกอบอาชีพดังกล่าว
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3