2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์

83 จำเลยทั้งสองได้ไปซึ่งค่านายหน้าอันเป็นสิทธิของโจทก์เป็นเงิน 3,500 บาท ขอให้ลงโทษตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 341 ดังนี้ หากจะฟังว่าจำเลยหลอกลวงโจทก์ตามฟ้องจริง การหลอกลวง เช่นนั้นก็มิได้ทำให้จำเลยได้เงินไปจากโจทก์ซึ่งอ้างว่าถูกหลอกลวงหรือจากบุคคลที่สามแต่อย่างใด เงิน ที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้ไปนั้นเป็นเพียงเงินค่านายหน้าซึ่งโจทก์ถือว่าตนมีสิทธิจะได้ และจำเลยไม่ชำระ ให้เท่านั้นเป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องว่ากล่าวกันในทางแพ่ง การกระทำของจำเลยไม่มีมูลเป็นความผิด ตามฟ้อง จากกรณีที่ดังกล่าว เมื่อไม่มีกฎหมายออกมาควบคุมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ ก็ต้องนำ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับในการฟ้องร้องคดี ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ อีก ทั้งยังส่งผลกับผู้ที่ประกอบอาชีพนี้ด้วยกันเองเนื่องจากไม่มีกฎหมายนายหน้าอสังหาริมทรัพย์โดยตรง และยังส่งผลกระทบไปถึงผู้บริโภคที่ใช้บริการผ่านนายหน้าอสังหาริมทรัพย์อีกด้วย ดังนั้น เพื่อให้ นายหน้าอสังหาริมทรัพย์มีมาตรฐานในการประกอบอาชีพและให้ผู้บริโภคได้รับความเชื่อมั่นและไว้ใจ จึงจำเป็นต้องมีตรากฎหมายควบคุมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ โดยกำหนดคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ในการ ขอรับใบอนุญาต องค์กรที่เข้ามาควบคุมดูแล รวมถึงบทลงโทษของผู้ประกอบอาชีพนี้ เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบกฎหมายนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศ พบว่ามี Directive 2013/55/EU of the European Parliament and of the Council เป็นกฎหมายที่ออกโดย สหภาพยุโรป ซึ่งกฎหมายฉบับนี้เป็นกติกากลางในเรื่องคุณสมบัติของผู้มีวิชาชีพที่เคลื่อนย้ายเพื่อให้ บริการในประเทศสมาชิกอื่นในสหภาพยุโรป โดยสามารถใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพของประเทศ สมาชิกแหล่งกำเนิดได้ ในต่างประเทศนั้นถือว่านายหน้าอสังหาริมทรัพย์เป็นผู้มีวิชาชีพ โดยสามารถ ขอขึ้นทะเบียนล่วงหน้ากับหน่วยงานที่มีอำนาจในประเทศสมาชิกเจ้าบ้านได้ เกณฑ์การพิจารณาจะใช้ คุณสมบัติทางด้านการศึกษาและประสบการณ์ หากนายหน้าอสังหาริมทรัพย์นั้นมีคุณสมบัติต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ครบถ้วนและเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำที่สหภาพยุโรปกำหนดไว้ ประเทศ สมาชิกเจ้าบ้านต้องยอมรับคุณสมบัติดังกล่าวเช่นเดียวกับคุณสมบัติที่ได้รับจากประเทศของตนโดย อัตโนมัติ และออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพในประเทศสมาชิกของตนให้แก่ผู้ประกอบอาชีพ นายหน้าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว นอกจากนี้ กฎหมายนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ของเครือรัฐออสเตรเลีย ต่างก็มีการออก กฎหมายควบคุมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แยกออกจากกันตามแต่ละรัฐ เช่น รัฐวิคตอเรียนั้นได้มีการ ออกพระราชบัญญัติควบคุมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ คือ The Estate Agent Act 1980 รัฐเวสเทอร์ นออสเตรเลียมีกฎหมาย Land Agents Act 1921-1964 รัฐนิวเซาท์เวลส์มีกฎหมาย The Property, Stock And Business Agents Act 1941 รัฐเซาท์ออสเตรเลียมีกฎหมาย Land Agents Brokers and Valuers Act 1973 รัฐแทสเมเนียมีกฎหมาย Agents Licensing Act 1979 และในระบบ กฎหมายลักษณะจารีตประเพณี (Common Law) ได้แก่ สาธารณรัฐสิงคโปร์ได้มีกฎหมายเกี่ยวกับ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3