2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์
85 เป็นการสร้างระบบมาตรฐานของอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ให้มีความน่าเชื่อถือและได้รับความ ไว้วางใจจากประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยกำหนดหลักเกณฑ์ที่ใช้บังคับกับผู้ประกอบอาชีพนายหน้า อสังหาริมทรัพย์เท่านั้น หากผู้ใดไม่ได้รับอนุญาตให้เป็นนายหน้าอสังหาริมทรัพย์หรือกระทำการฝ่าฝืน จะมีโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้ รวมถึงกำหนดหลักเกณฑ์ในการให้องค์กรหรือหน่วยงานที่มีอำนาจ ตามกฎหมายเข้ามาควบคุมดูแลนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นผู้ออกใบอนุญาตให้แก่บุคคลผู้มีสิทธิ ประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดหลักเกณฑ์การลงโทษนายหน้า อสังหาริมทรัพย์สำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนหรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการประกอบอาชีพดังกล่าว โดยการ กำหนดหลักเกณฑ์ในลักษณะเช่นนี้ เป็นการนำระบบอนุญาตมาใช้ในการตรากฎหมาย แม้จะเป็น ระบบที่ควบคุมสิทธิและเสรีภาพของบุคคลผู้มีสิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพ แต่เพื่อ ประโยชน์สาธารณะในด้านต่างๆ จำเป็นต้องมีหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆเข้ามาควบคุมดูแลเพื่อให้ เกิดความสมดุลระหว่างสิทธิและเสรีภาพของบุคคลกับผลประโยชน์ของส่วนรวม 4.1.2 การคุ้มครองผู้บริโภคจากนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ การคุ้มครองผู้บริโภคนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับผู้ซื้อสินค้าและผู้ใช้บริการ เมื่อผู้บริโภคได้รับ ความไม่เป็นธรรมหรือตกอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบจากการเสนอขายสินค้าหรือบริการของผู้ประกอบ อาชีพ ดังนั้น รัฐจึงมีเหตุอันชอบธรรมที่จะเข้ามาควบคุมหรือแทรกแซงเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความ คุ้มครองและเป็นธรรม จากสถิติรับเรื่องร้องทุกข์จากผู้บริโภคประเภทอสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัย ในปี 2565 จำนวน 2,141 ราย (สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค, 2565) พบว่าเรื่องที่ ร้องเรียนมากที่สุดคือ คอนโดมิเนียม เป็นกรณีที่คอนโดสร้างไม่เสร็จหรือเสร็จล่าช้า ทางสำนักงาน คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้มีประกาศให้ธุรกิจขายห้องชุดเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ 2543 จะเห็นว่ากรณีดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ และในการทำนิติกรรมดังกล่าว ย่อมมีนายหน้าอสังหาริมทรัพย์เข้าไปเกี่ยวข้อง และการให้ความคุ้มครองผู้บริโภคนั้นจำเป็นต้อง พิจารณาถึงหลักเสรีภาพในการทำสัญญา ซึ่งเป็นหลักที่บัญญัติไว้ในกฎมายที่เกี่ยวกับสัญญา โดยมีการ คุ้มครองก่อนการทำสัญญาและคุ้มครองในขณะทำสัญญาหรือเมื่อมีการทำสัญญาแล้ว เมื่อผู้บริโภคไม่ได้รับความคุ้มครองสาเหตุนั้นเกิดจากการที่นายหน้าอสังหาริมทรัพย์ได้ทำ การชี้ช่องหรือจัดการให้มีการทำสัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งสัญญาที่นายหน้าได้ชี้ ช่องให้มีการทำสัญญากันนั้น ไม่ว่าจะเป็นสัญญาเช่าทรัพย์ สัญญาเช่าซื้อ สัญญาจะซื้อจะขายหรือ สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ แต่การทำสัญญาดังกล่าวนั้นอาจไม่เป็นผลสำเร็จ เพราะนายหน้า อสังหาริมทรัพย์เป็นผู้ชี้ช่องหรือจัดการอย่างใดๆ ให้มีการทำสัญญากันสำเร็จแล้วนายหน้าก็ไม่ต้องรับ ผิดตามสัญญาที่ตนชี้ช่องด้วย ประกอบกับนายหน้ามิได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการทำสัญญานั้นโดยตรง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 848 ด้วยเหตุนี้ นายหน้าอสังหาริมทรัพย์มักออกกล อุบายทำให้ผู้บริโภคหลงเชื่อแล้วทำการฉ้อฉล ฉ้อโกง ทำให้ผู้บริโภคได้รับความเดือดร้อนและเสียหาย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3