2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์
87 พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นการร่วมกันวางแผนโดยแบ่งหน้าที่กันทำจึงเป็นตัวการร่วมกัน ใช้เอกสารราชการปลอมและร่วมกับจำเลยที่ 3 ฉ้อโกง การที่จำเลยทั้งสองใช้เอกสารราชการปลอม แสดงต่อโจทก์ร่วมจนโจทก์ร่วมหลงเชื่อยอมรับซื้อฝากที่ดินไว้เป็นการกระทำโดยมีเจตนาฉ้อโกงด้วย แต่การกระทำความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอมและความผิดฐานฉ้อโกงเป็นการกระทำอันเป็น กรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทซึ่งต้องลงโทษบทหนักตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 การที่นายหน้าอสังหาริมทรัพย์มีพฤติการณ์ดังกล่าวเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลให้ผู้บริโภค ต้องไปดำเนินฟ้องร้องคดีขึ้นสู่ศาล อีกทั้งยังต้องไปดำเนินการร้องเรียนต่อสำนักงานคณะกรรมการ คุ้มครองผู้บริโภคเพื่อให้ได้รับความเป็นธรรมอีกด้วย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย คือ สิทธิที่จะได้รับข้อมูลต่างๆ ที่ถูกต้องและ เพียงพอเพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนเข้าทำสัญญา ส่วนการที่ผู้บริโภคหลงเชื่อคำโฆษณาหรือคำ หลอกลวงจากการที่นายหน้าอสังหาริมทรัพย์ชี้ช่องอสังหาริมทรัพย์ผิดไปจากความเป็นจริงและไม่ได้ชี้ แจ้งในรายละเอียดอันเป็นสาระสำคัญถือเป็นปัญหาการให้คุ้มครองในขณะทำสัญญาหรือเมื่อมีการทำ สัญญาแล้ว ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 นั้นไม่อาจกำหนดใน ลักษณะเด็ดขาดหรือตายตัวว่าให้ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมมีผลบังคับแค่ไหนเพียงใดไว้โดยชัดแจ้งย่อมมิ อาจกระทำได้ เนื่องจากการทำสัญญาในแต่ละกรณีมีเงื่อนไขหรือปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องแตกต่างกันไป ด้วยเหตุนี้ พระราชบัญญัติดังกล่าวเพียงกำหนดเป็นแนวทางแก่ศาลในการวินิจฉัยโดยให้ศาลคำนึงถึง พฤติการณ์ทั้งปวงและปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องเป็นรายกรณีเป็นสำคัญ อันได้แก่ ปัจจัยเกี่ยวกับคู่สัญญา เช่น ความสุจริต อำนาจต่อรอง ฐานะทางเศรษฐกิจ ความรู้ความเข้าใจ ความสันทัดชัดเจน ความ คาดหมาย แนวทางที่เคยปฏิบัติ ทางเลือกอย่างอื่น และทางได้เสียทุกอย่างของคู่สัญญาตามสภาพที่ เป็นจริง ปัจจัยเกี่ยวกับการทำสัญญา เช่น ปกติประเพณีของสัญญาชนิดนั้น เวลาและสถานที่ในการ ทำสัญญาหรือในการปฏิบัติตามสัญญา ปัจจัยเกี่ยวกับภาระหน้าที่ของคู่สัญญา ได้แก่ การรับภาระที่ หนักกว่ามากของคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งการทำสัญญานายหน้า อสังหาริมทรัพย์ ส่วนใหญ่จะเป็นนายหน้าเด็ดขาด กล่าวคือ เป็นสัญญาที่มีการมอบสิทธิเด็ดขาดใน การขายให้แก่นายหน้าแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งหากมีการขายเกิดขึ้นภายในเวลาที่ตกลงกันไว้ในสัญญา ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นด้วยเหตุที่เจ้าของทรัพย์สินนั้นเป็นผู้ติดต่อกับคู่ค้าเองก็ดี หรือมีผู้ใดติดต่อให้ก็ดี นายหน้าก็ชอบที่จะได้รับค่าบำเหน็จจากเจ้าของทรัพย์สินตามสัญญาเสมอ สัญญาประเภทนี้เป็น สัญญาสำเร็จรูป ทำให้ผู้บริโภคได้รับความคุ้มครองในกรณีที่ข้อตกลงในสัญญาที่ผู้บริโภคได้ทำไว้กับ นายหน้าอสังหาริมทรัพย์นั้นเกิดความไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค แต่อย่างไรก็ตาม มีผู้บริโภคจำนวนน้อย ที่รู้ถึงข้อสัญญาดังกล่าว และเป็นปัญหาในทางปฏิบัติหากทั้งสองฝ่ายเกิดความไม่พอใจ ผู้บริโภคก็มัก เป็นฝ่ายเสียเปรียบอยู่เสมอ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3