2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์

5 รับผิดชอบ ทิ้งงาน ทำงานล่าช้าไม่เสร็จตามแผนที่วางเอาไว้ หรือใช้วัสดุก่อสร้างไม่ตรงตาม แบบที่ตกลงกันไว้โดยเอาวัสดุเกรดต่ำกว่าตามแบบมาใช้รวมถึงการเบิกเงินล่วงหน้าแต่ทำงาน ไม่ตรงตามตกลงกันไว้เหล่านี้ นับเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำระหว่างผู้ ว่าจ้างและ ผู้รับเหมาก่อสร้าง การได้รับใบอนุญาตการขึ้นทะเบียนวิศวกรของสภาวิศวกร ตามระเบียบ คณะกรรมการสภาวิศวกร ว่าด้วยการทดสอบความรู้เพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบ วิชาชีพวิศวกรรมควบคุมระดับภาคีวิศวกร พ.ศ.2563 ได้มีการกำหนดคุณสมบัติของผู้ขอ อนุญาต ประเภทใบอนุญาตภาคีวิศวกรพิเศษ กำหนดคุณสมบัติว่าจะต้องมีความรู้และ ประสบการณ์ตรงกับลักษณะงานของผู้ขอใบอนุญาตแยกออกเป็น 3 ประเภท คือ 1) มีวุฒิ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่าที่เกี่ยวกับวิชาชีพวิศวกรรมที่ผู้ยื่นขอ จะต้องมีผลงานและประสบการณ์ตรงกับลักษณะงานที่ขอไม่น้อยกว่า 4 ปี 2) มีวุฒิ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่าที่เกี่ยวกับวิชาชีพวิศวกรรม ที่ผู้ยื่นขอจะต้องมี ผลงานและประสบการณ์ตรงกับลักษณะงานที่ขอ ไม่น้อยกว่า 6 ปี และ 3) มีวุฒิ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่าในสาขาอื่นที่ไม่เกี่ยวกับวิชาชีพวิศวกรรมหรือ วุฒิต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จะต้องมีผลงานและประสบการณ์ตรงกับ ลักษณะงานที่ขอไม่น้อยกว่า 10 ปี(สภาวิศวกร, 2565) แต่ขณะที่ผู้รับเหมาก่อสร้างที่เป็น บุคคลธรรมดาที่มีประสบการณ์ทำงานหรือรับจ้างแม้จะไม่ได้สำเร็จการศึกษาในด้านวิชาชีพ นั้นโดยตรง แต่สามารถก่อสร้างบ้านทั้งหลังได้จากประสบการณ์โดยไม่มีใบอนุญาตควบคุม ผู้รับเหมาสร้างบ้านพักอาศัยแต่อย่างใด จำเป็นต้องศึกษาถึงการขึ้นทะเบียนของ ผู้รับเหมาก่อสร้าง บ้านพักเพื่อการอยู่อาศัย ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษา มาตรการทางกฎหมายในการขึ้นทะเบียนของผู้รับเหมาก่อสร้าง บ้านพักเพื่อการอยู่อาศัย โดยศึกษาผู้รับเหมาก่อสร้างประเภทบุคคลธรรมดา เกี่ยวกับ ประเด็นปัญหาการจัดทำทะเบียนประวัติฐานข้อมูลของผู้รับเหมาก่อสร้างโดยให้องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำประวัติของผู้รับเหมาก่อสร้าง และ ปัญหาการขึ้นทะเบียนใบอนุญาตเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างโดยสภาวิศวกร เพื่อประโยชน์ในการ ควบคุมผู้รับเหมาก่อสร้างประเภทบุคคลธรรมดา และคุ้มครองผู้บริโภครวมถึงลดการ ฟ้องร้องดำเนินคดีในศาลต่อไป

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3