2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์

6 1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาปัญหาการจัดทำทะเบียนประวัติฐานข้อมูลของผู้รับเหมาก่อสร้างเพื่อ การอยู่อาศัยโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและปัญหาการขึ้นทะเบียน ใบอนุญาต ผู้รับเหมาก่อสร้างเพื่อการอยู่อาศัยโดยสภาวิศวกร 2. เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักการเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนของผู้รับเหมาก่อสร้าง เพื่อการอยู่อาศัยของผู้รับเหมาก่อสร้างประเภทบุคคลธรรมดา 3. เพื่อศึกษากฎหมายไทยเกี่ยวกับมาตรการควบคุมการขึ้นทะเบียนของ ผู้รับเหมาก่อสร้างของผู้รับเหมาก่อสร้างประเภทบุคคลธรรมดา 4. เพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการขึ้นทะเบียนของผู้รับเหมาก่อสร้าง เพื่อการอยู่อาศัย การจัดทำทะเบียนประวัติฐานข้อมูลของผู้รับเหมาก่อสร้างเพื่อการอยู่อาศัย โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการขึ้นทะเบียนใบอนุญาตผู้รับเหมาก่อสร้างเพื่อการอยู่ อาศัยโดยสภาวิศวกร 1.3 คำถามวิจัย การจัดทำประวัติฐานข้อมูลของผู้รับเหมาก่อสร้างและการได้รับใบอนุญาตขึ้น ทะเบียนผู้รับเหมาก่อสร้างบ้านเพื่อการอยู่อาศัย ควรมีรูปแบบอย่างไร 1.4 สมมติฐานของการวิจัย การก่อสร้างที่มีโครงสร้างเพื่อการอยู่อาศัยหากเลือกผู้รับเหมาก่อสร้างไม่มีความ รับผิดชอบย่อมก่อให้เกิดปัญหากับผู้ว่าจ้าง การจัดทำทะเบียนประวัติฐานข้อมูลของ ผู้รับเหมาก่อสร้างเพื่อการอยู่อาศัยโดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามีส่วนร่วมเพื่อลดผล ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้ว่าจ้างหากมีประวัติฐานข้อมูลเกี่ยวกับผลงานที่ผ่านมา ประสบการณ์ของผู้รับเหมา ความซื่อตรงต่ออาชีพ รวมถึงการขึ้นทะเบียนเพื่อควบคุม ผู้รับเหมาก่อสร้างเป็นผู้ประกอบอาชีพอย่างเป็นทางการ ย่อมจะเป็นข้อมูลในการตัดสินใจ ของผู้ว่าจ้างในการเลือกผู้รับเหมาก่อสร้างโดยมิต้องผิดสัญญาหรือยกเลิกสัญญา และหากมี การขึ้นทะเบียนใบอนุญาตผู้รับเหมาก่อสร้างเพื่อการอยู่อาศัยโดยสภาวิศวกร เพื่อควบคุม ผู้รับเหมาก่อสร้างที่ขาดความรับผิดชอบ ทิ้งงาน ทำงานล่าช้าไม่เสร็จตามแผนที่วางเอาไว้ รวมถึงการเบิกเงินล่วงหน้าแต่ทำงานไม่ตรงตามตกลงกันไว้เหล่านี้ นับเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็น ประจำระหว่างผู้ว่าจ้างและผู้รับเหมาก่อสร้าง จึงจำเป็นต้องปรับปรุงและแก้ไขมาตรการทาง กฎหมายเพื่อประโยชน์การจัดทำทะเบียนประวัติฐานข้อมูลของผู้รับเหมาก่อสร้างเพื่อการอยู่

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3