2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์

7 อาศัยโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการขึ้นทะเบียนใบอนุญาตผู้รับเหมาก่อสร้างเพื่อ การอยู่อาศัยโดยสภาวิศวกรและคุ้มครองผู้บริโภครวมถึงลดการฟ้องร้องดำเนินคดีในศาล 1.5 ขอบเขตของการวิจัย งานวิจัยกำหนดขอบเขตครอบคลุมแต่ละด้าน ดังนี้ 1.ขอบเขตด้านเนื้อหา ศึกษาแนวคิดในการสร้างมาตรฐานวิชาชีพ แนวคิดเกี่ยวกับ จัดบริการสาธารณะ แนวคิดเกี่ยวกับมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ.2562 แนวคิดเกี่ยวกับการ คัดเลือกผู้รับเหมา ทฤษฎีการตัดสินใจ ทฤษฎีการคุ้มครองผู้บริโภค ทฤษฎีลำดับชั้นเชิง วิเคราะห์ หลักการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบอาชีพ หลักการเกี่ยวกับสัญญาก่อสร้าง กฎหมาย ไทยเกี่ยวข้อง พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 พระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ.2542 2. ขอบเขตด้านพื้นที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูลกําหนดไว้คือในพื้นที่จังหวัดสงขลา เนื่องจากมีการละทิ้งงานและมีคดีพิพาทร้องต่อศาลอย่างต่อเนื่อง 3. ขอบเขตด้านผู้ให้ข้อมูลหลัก ในการเก็บรวบรวมในการวิจัยครั้งนี้เป็นการเก็บ ข้อมูลจากกลุ่ม ตัวอย่างแบบสัมภาษณ์เชิงลึก 4 กลุ่ม จำนวน 15คน ได้แก่ กลุ่มหน่วยงาน ภาครัฐประกอบด้วย ช่างโยธาชำนาญงาน กลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้างเป็นนิติบุคคล กลุ่ม ผู้รับเหมาก่อสร้างที่เป็นบุคคลธรรมดา กลุ่มผู้ว่าจ้างรับเหมาก่อสร้าง 1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย 1. ได้ทราบปัญหาการจัดทำทะเบียนประวัติฐานข้อมูลของผู้รับเหมาก่อสร้างเพื่อการ อยู่อาศัยโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และปัญหาการขึ้นทะเบียนใบอนุญา ต ผู้รับเหมาก่อสร้างเพื่อการอยู่อาศัยโดยสภาวิศวกร 2. ได้ ท ร าบ ถึ ง แ น วคิ ด ท ฤ ษ ฎี ห ลั ก ก า ร เกี่ ย ว กั บ ก า ร ขึ้ น ท ะ เบี ย น ข อ ง ผู้รับเหมาก่อสร้างเพื่อการอยู่อาศัยของผู้รับเหมาก่อสร้างประเภทบุคคลธรรมดา 3. ได้ทราบถึงกฎหมายไทยที่เกี่ยวกับมาตรการควบคุมการขึ้นทะเบียนของ ผู้รับเหมาก่อสร้างของผู้รับเหมาก่อสร้างประเภทบุคคลธรรมดา 4. ได้ข้อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการขึ้นทะเบียนของผู้รับเหมาก่อสร้าง เพื่อการอยู่อาศัย การจัดทำทะเบียนประวัติฐานข้อมูลของผู้รับเหมาก่อสร้างเพื่อการอยู่อาศัย โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการขึ้นทะเบียนใบอนุญาตผู้รับเหมาก่อสร้างเพื่อการอยู่ อาศัยโดยสภาวิศวกร

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3