2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์

9 บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในบทนี้ เป็นการศึกษาที่มีจุดมุ่งหมายซึ่ง ประกอบไปด้วยเนื้อหาที่เกี่ยวกับ แนวคิด ทฤษฎี หลักการ การทบทวนเอกสาร กฎหมาย ประเทศไทย รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการมาตรการในการควบคุมผู้รับเหมาก่อสร้าง โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 2.1 แนวคิดในการสร้างมาตรฐานวิชาชีพ 2.2 แนวคิดเกี่ยวกับจัดบริการสาธารณะ 2.3 แนวคิดเกี่ยวกับการคัดเลือกผู้รับเหมา 2.4 ทฤษฎีการตัดสินใจ 2.5 ทฤษฎีการคุ้มครองผู้บริโภค 2.6 ทฤษฎีลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ 2.7 หลักการเกี่ยวกับสัญญาก่อสร้าง 2.8 หลักการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบอาชีพ 2.9 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2.10 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.1 แนวคิดในการสร้างมาตรฐานวิชาชีพ 2.1.1 ความหมายของการสร้างมาตรฐานวิชาชีพ การสร้างมาตรฐานวิชาชีพมี มีผู้ให้ความหมายไว้หลากหลาย เช่น ด้านสภา ทนายความ สภาวิชาชีพบัญชี สภาวิศวกร ดังต่อไปนี้ วิชาชีพ (Profession) ตามพจนานุกรม Oxford Advanced Dictionary แปลว่า อาชีพโดยเฉพาะอาชีพที่ต้องมีการศึกษาขั้นสูงและการฝึกอบรมเป็นพิเศษ เช่น กฎหมาย สถาปัตยกรรม แพทย์ และตามพจนานุกรม Webster Dictionary แปลว่า อาชีพที่ต้องมีการ ฝึกอบรม ชั้นสูงในศิลปศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ ซึ่งโดยปกติเป็นงานในทางความคิดมากกว่า กําลังกาย นักกฎหมายหลายท่านได้เคยให้ความหมายและคําจํากัดความคําว่า วิชาชีพ ไว้ว่า “วิชาชีพ” มาจากคําว่า Profession มาจากคํากริยา to profess จากคําละติน pro+fateri แปลว่า ยอมรับ หรือรับว่าเป็นของตน คํานี้ใช้ในเรื่องศาสนาหมายความว่า เป็นการประกาศ ตนว่ามีศรัทธาในศาสนาหรือการประกาศปฏิญาณอุทิศตน ความหมายของคํานี้ มีจุดเด่นอยู่ที่ การอุทิศตน (วริยา ชินวรรโณ, 2558)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3