2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์
10 “วิชาชีพ” คือ อาชีพที่ต้องมีการศึกษาขั้นสูง มีการอบรมเป็นพิเศษ และมีเจตนา เพื่อ รับใช้ประชาชน วิชาชีพนั้นมีหลายประเภทด้วยกัน เช่น กฎหมาย แพทย์ สถาปัตยกรรม วิศวกรรม เป็นต้น “วิชาชีพ” ในความหมายอย่างแคบ คือ คนที่จะประกอบอาชีพนี้ได้ต้องมีความรู้ และ คุณสมบัติตลอดจนประสบการณ์พิเศษที่ผู้ประกอบอาชีพทั่วไปอาจไม่มี ซึ่งได้แก่ วิชาชีพ สถาปัตยกรรม วิศวกรรม กฎหมาย แพทย์ ความแตกต่างระหว่างวิชาชีพ (Professions) กับ อาชีพ (Occupations) โดยปกติแล้ววิชาชีพเป็นอาชีพของบุคคลซึ่งได้อาศัยทํามาหากินเลี้ยงชีวิตอย่างหนึ่ง เพียงแต่มีความแตกต่างที่วิชาชีพนั้นเป็นอาชีพที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถและความ ชํานาญมากกว่าอาชีพโดยทั่วไปและมิใช่ผู้ใดจะสามารถประกอบวิชาชีพได้โดยปราศจาก การศึกษาและการฝึกฝนให้เกิดความชํานาญก่อนการประกอบวิชาชีพโดยที่ผลของการ ประกอบวิชาชีพนั้นหากเป็นประโยชน์ก็จะเป็นประโยชน์ที่มีคุณค่าต่อบุคคลและสังคมหาก เกิดโทษก็จะเกิดผลในทางร้ายมากกว่าการประกอบอาชีพโดยทั่วไป ศาสตราจารย์ปรีดี เกษมทรัพย์ เคยให้ความเห็นว่าไว้ว่าอาชีพใดจะเป็นวิชาชีพได้ จะต้องมีลักษณะพิเศษ ดังนี้ 1. เป็นอาชีพในแง่ที่เป็นการงานที่มีการอุทิศตนทําไปตลอดชีวิต 2.การงานนั้นต้องได้รับการสั่งสอนอบรมที่เป็นวิชาชีพชั้นสูงที่ต้องอบรมเป็น เวลานานหลายปี 3. ผู้ทําการงานประเภทนี้จะมีชุมชนหรือหมู่คณะที่มีขนบธรรมเนียมประเพณีที่ สํานึกในจรรยาบรรณ เกียรติยศและศักดิ์ศรีของวิชาชีพของตนมีองค์กรและขบวนการเพื่อ สอดส่องพิทักษ์รักษาขนบธรรมเนียม เกียรติยศ ศักดิ์ศรีและวิชาชีพ พระสงฆ์ในศาสนาคริสต์เป็นคณะบุคคลผู้อุทิศตนเพื่อศรัทธาความเชื่อในศาสนา และการปฏิญาณตนบวชเป็นพระสงฆ์จะต้องผ่านการศึกษาอบรมในวิชาเทววิทยา (Theology) เป็นเวลาหลายปีพระสงฆ์จึงถือเป็นวิชาชีพแรกของโลก คําว่า วิชาชีพ แต่เดิมใน ยุโรปจึงมิได้หมายถึงอาชีพในแง่การทํามาหากินแต่มีความหมายในแง่ที่ว่าเป็นงานที่ตนอุทิศ ตนไปตลอดชีวิตในสมัยต่อมาความหมายของคํานี้ค่อยๆขยายขอบเขตกว้างขวางขึ้นหมาย รวมถึงอาชีพอื่นๆที่ต้องมีการร่ำเรียนเป็นวิชาชีพชั้นสูงและใช้เวลาในการศึกษาอบรมกันเป็น เวลานานปี เช่น วิชาสถาปัตยกรรม วิศวกรรมศาสตร์ วิชาบัญชีชั้นสูงก็นับรวมเรียกกันว่าเป็น วิชาชีพเหมือนกัน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3