2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์

11 การแบ่งแยกความแตกต่างระหว่างวิชาชีพกับอาชีพอาจพิจารณาได้จาก 1. วิชาชีพโดยทั่วไปต้องมีการศึกษาและฝึกอบรมชั้นสูง (Learning) เป็นการศึกษา อบรมทางความคิดยิ่งกว่าทางร่างกายโดยต้องได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบวิชาชีพได้ ในขณะที่การประกอบธุรกิจหรืออาชีพอื่นอาจจะได้มาจากการศึกษาอบรมหรือจาก ประสบการณ์ สามัญสํานึกหรือจากการฝึกอบรมทางร่างกายก็ได้ 2. วิชาชีพเป็นบริการที่จําเป็นแก่ชุมชนต่างกับธุรกิจหรืออาชีพอื่นที่อาจไม่ถึงขนาดที่ จําเป็นขาดเสียไม่ได้ 3. วิชาชีพต้องทําด้วยเจตนารมณ์รับใช้ประชาชน (Spirit of public service) เพราะฉะนั้นผลประโยชน์ที่จะได้รับส่วนตัวย่อมมีความสําคัญรองลงไป 4. วิชาชีพจะต้องมีกฎของการประกอบวิชาชีพโดยเฉพาะและต้องปฏิบัติตามโดย เคร่งครัด ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่สังคมหากมีการประพฤติผิดข้อบังคับ จะต้องมีการลงโทษทางวินัยหรือจรรยาบรรณอย่างเข้มงวด 2.1.2 การจัดตั้งสภาวิชาชีพ ตามหลักการจําแนกประเภทหน่วยงานของรัฐของ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนา ระบบราชการ ได้กําหนดให้สภาวิชาชีพเป็นหน่วยงานที่มิใช่หน่วยงานของรัฐแต่ใช้อํานาจรัฐ ในการดําเนินกิจกรรมมีการจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเฉพาะมีฐานะเป็นนิติบุคคล ทําหน้าที่ควบคุมการประกอบวิชาชีพให้ถูกต้องตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ การขึ้นทะเบียน และออกใบอนุญาต สั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาตและรับรองวิทยฐานะของ สถาบันที่ทําการสอน รับรองปริญญา ประกาศนียบัตรในวิชาชีพนั้นๆมีการบริหารงานในรูป คณะกรรมการ ประกอบด้วยกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐในสัดส่วนที่น้อยกว่า กรรมการได้รับการเลือกตั้งจากสมาชิก รัฐมีบทบาทน้อยในการแต่งตั้งนายกสภาและ เลขาธิการสภาคณะกรรมการมีหน้าที่ในการบริหารกิจการของสภาวิชาชีพตามวัตถุประสงค์ การจัดตั้งการดําเนินงานของสภาใช้ระบบสัญญาของกฎหมายทั่วไปเฉพาะในกรณีที่ เกี่ยวข้องกับเรื่องจริยธรรมของวิชาชีพเท่านั้นที่ใช้กฎหมายปกครองมีรายได้ส่วนใหญ่จากการ เก็บค่าธรรมเนียมต่างๆจากสมาชิกแต่อาจได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐ เจ้าหน้าที่ของสภามิใช่ ข้าราชการมีเลขาธิการเป็นผู้บังคับบัญชาเจ้าหน้าที่ของสภาทุกระดับ ตัวอย่างเช่น แพทยสภา สภาการพยาบาล สภาเภสัชกรรม ทันตแพทยสภา สภาทนายความ เป็นต้น (วรรณทิพ สม จินตนา,2558.) ปัจจุบันมีสภาวิชาชีพที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ทั้งสิ้น 16 สภาวิชาชีพ ได้แก่ (1) แพทยสภา (พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3