2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์

12 (2) สภาการพยาบาล (พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.2528 (3) สภาทนายความ (พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528) (4) ทันตแพทยสภา (พระราชบัญญัติวิชาชีพทันตกรรม พ.ศ. 2537) (5) สภาเภสัชกรรม (พระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2537) (6) สภาวิศวกร (พระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542) (7) สภาสถาปนิก (พระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543) (8) สัตวแพทยสภา (พระราชบัญญัติวิชาชีพสัตวแพทย์ พ.ศ. 2545) (9) คุรุสภา (พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษาพ.ศ. 2546) (10) สภาวิชาชีพบัญชี (พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ.2547) (11) สภาเทคนิคการแพทย์ (พระราชบัญญัติวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ พ.ศ.2547) (12) สภากายภาพบําบัด (พระราชบัญญัติวิชาชีพกายภาพบําบัด พ.ศ. 2547) (13) สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์์และเทคโนโลยี (พระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ.2551) (14) สภาการแพทย์แผนไทย (พระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2556) (15) สภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ (พระราชบัญญัติวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ พ.ศ.2556) (16) สภาการสาธารณสุขชุมชน(พระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ.2556) ทุกวิชาชีพย่อมต้องมีมาตรฐานของวิชาชีพนั้นๆ เพื่อวัดหรือประมาณค่าผู้ปฏิบัติการ วิชาชีพตามมาตรฐานด้านความรู้ ทักษะและประสบการณ์วิชาชีพ ซึ่งมาตรฐานด้านความรู้ก็ ดีมาตรฐานด้านประสบการณ์และทักษะวิชาชีพก็ตามจะต้องถูกกำหนดขึ้นโดยองค์กรหรือ สมาคมวิชาชีพของแต่ละวิชาชีพ ดังตัวอย่างเช่น อาชีพด้านกฎหมายก็มีสภาทนายความ อาชีพด้านสถาปัตยกรรมที่มีสถาปนิกสมาคมอาชีพทางด้านการแพทย์ก็มีแพทยสภา อาชีพ ด้านการพยาบาลก็มีสมาคมการพยาบาล หรืออาชีพด้านการศึกษาก็มีคุรุสภาเป็นผู้กำหนด มาตรฐานวิชาชีพของตนตามความมุ่งประสงค์ข้างต้น การที่องค์กรด้านวิชาชีพต่างๆได้ กำหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพของตนถือเป็นภาระหน้าที่เพื่อความมุ่งประสงค์ในการรักษา ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพของตนให้มีมาตรฐานสูงที่สุดโดยให้ผู้ปฏิบัติการ ผู้รับบริการ ผู้เกี่ยวข้องและสาธารณชนได้เห็นความสำคัญของการอาชีพนั้นๆและเพื่อให้การอาชีพนั้นๆ สามารถคงอยู่ได้ด้วยความมีคุณค่าเป็นที่ยอมรับนับถือและได้รับการยกย่อง อย่างไรก็ดีการที่แต่ละวิชาชีพจะมีมาตรฐานโดยยึดที่มาตรฐานความรู้ มาตรฐาน ประสบการณ์และทักษะในการวิชาชีพเท่านั้น ย่อมไม่เป็นการเพียงพอแต่ละวิชาชีพยังจะต้อง มีอีกมาตรฐานที่สำคัญนั่นก็คือ มาตรฐานการประพฤติปฏิบัติตนของผู้ประกอบอาชีพแต่ละ อาชีพด้วย ซึ่งย่อมหมายถึงมาตรฐานการประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณของวิชาชีพของตน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3