2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์
13 ซึ่งประกอบด้วยจริยธรรม คุณธรรม ความดี ความงาม รวมทั้งค่านิยมที่ส่งเสริมการพัฒนา วิชาชีพ ด้วยเหตุนี้มาตรฐานวิชาชีพทุกๆสาขาย่อมจะมีองค์ประกอบสำคัญต่อไปนี้อยู่ด้วย เสมอกล่าวคือ มาตรฐานความรู้และทักษะ มาตรฐานในสมรรถนะที่ประกอบการวิชาชีพได้ จริงและมาตรฐานทางด้านความประพฤติและปฏิบัติตน วิชาชีพที่มีมาตรฐาน จึงได้รับการยกย่องให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงเพราะผู้ประกอบ วิชาชีพ นอกจากต้องมีความรู้และทักษะในวิชาชีพแล้วยังต้องมีความรับผิดชอบสูงเพราะ เกี่ยวข้องกับผู้รับบริการและสาธารณชน จึงต้องมีการควบคุมการประกอบวิชาชีพเป็นพิเศษ เพื่อให้เกิดความมั่นใจต่อผู้รับบริการและสาธารณชน โดยผู้ประกอบวิชาชีพต้องประกอบ วิชาชีพด้วยวิธีการแห่งปัญญาได้รับการศึกษาอบรมมายาวนานเพียงพอมีอิสระในการใช้ วิชาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพและมีจรรยาบรรณของวิชาชีพรวมทั้งต้องมีสถาบันวิชาชีพหรือ องค์กรวิชาชีพที่เป็นแหล่งกลางในการสร้างสรรค์และจรรโลงวิชาชีพ มาตรฐานวิชาชีพ เช่น ครู แพทย์ วิศวกร สถาปนิก ทนายความ พยาบาล และอื่นๆสามารถสร้างความเชื่อมั่น ศรัทธาให้แก่ผู้รับบริการจากวิชาชีพได้ว่า เป็นบริการที่มีคุณภาพและตอบสังคมได้ด้วยว่าการ ที่กฎหมายให้ความสำคัญกับวิชาชีพและกำหนดให้เป็นวิชาชีพควบคุมโดยต้องมีใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพนั้น เนื่องจากเป็นวิชาชีพที่มีลักษณะเฉพาะต้องใช้ความรู้ ทักษะ และความ เชี่ยวชาญในการประกอบวิชาชีพ 2.1.3 มาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ.2562 จริยธรรมในวิชาชีพได้มีผู้ให้นิยามความหมายของคำว่า “จริยธรรม”ไว้มากมายทั้งชาว ไทย และชาวตะวันตก ดังที่จะสรุปมาโดยสังเขปต่อไปนี้ โสเครตีส (Socrates, 470-399 ก่อน ค.ศ.) (Atkinson, 2011: 46-47) ปรัชญาเมธี ชาวกรีกผู้มีชื่อเสียงผู้วางรากฐานเกี่ยวกับปรัชญาจริยศาสตร์ตะวันตกเป็นคนแรกที่เริ่ม วิเคราะห์ความหมายของคำว่า“จริยธรรม”โดยเชื่อมโยงความรู้เข้ากับจริยธรรมเขาเป็น เจ้าของคำกล่าวที่ว่า“ความรู้คู่คุณธรรม”(Knowledge is virtue) กล่าวคือ เมื่อคนเรามี ความรู้แล้วก็จะนำไปสู่พฤติกรรมที่ดีงาม เขาเชื่อว่าชีวิตที่มีค่าควรแก่การดำรงอยู่คือชีวิตที่ ได้รับการตรวจสอบอย่างเข้มงวดโสเครตีสเชื่อด้วยว่า หากคนเรามีความรู้และความเข้าใจ เกี่ยวกับ“ความดี”อย่างเพียงพอแล้วก็จะทำให้คนผู้นั้นมีความสุขได้ สำหรับโสเครตีสหากผู้ใด มีความรู้เกี่ยวกับความดีมากเพียงพอก็จะทำให้ผู้นั้นอยู่ในสภาวะที่รู้แจ้งเห็นจริงทางปัญญา (Enlightened state)และจะไม่ทำการกระทำที่เลวร้าย เนื่องจากเขาตระหนักดีแล้วถึงคุณค่า ของชีวิต ด้วยเหตุนี้การรู้จักไตร่ตรองทางปัญญาจึงเป็นคุณสมบัติที่สำคัญของมนุษย์ เพลโต นักปรัชญาคนสำคัญผู้เป็นสานุศิษย์ของโสเครตีส เป็นผู้นำความคิดของ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3