2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์

14 โสเครตีสมาศึกษาต่อโดยเฉพาะในประเด็นเรื่องจริยธรรม เขามีความคิดเห็นสอดคล้องกับโส เครตีสในหนังสือที่มีชื่อเสียงของเขาคือ สาธารณรัฐ(The Republic) เพลโตมีความคิด เช่นเดียวกับโสเครตีสว่า ความรู้เป็นพื้นฐานของความดีผู้ที่มีคุณธรรมจึงจะต้องมีความรู้เป็น พื้นฐาน การแสวงหาความรู้เกี่ยวกับศีลธรรม จริยธรรม คือ การแสวงหาคุณธรรมและความดี นั้นมีคุณค่าในตัวเอง การที่มนุษย์ทำความดีก็มิใช่เพื่อจุดประสงค์อื่นๆ แต่เพื่อความดีเอง เท่านั้น อริสโตเติล ผู้เป็นศิษย์ของเพลโตมีความคิดเห็นเช่นเดียวกับเพลโตเขาเชื่อมั่นใน ปัญญาและเหตุผลของมนุษย์ อริสโตเติลยอมรับว่าเป้าหมายที่มนุษย์ทุกคนแสวงหาคือ ความสุขแต่เป็นความสุขที่เกิดจากคุณธรรม เช่น ความกล้าหาญ การควบคุมตนเอง มิตรภาพ อย่างไรก็ดี ความสุขเหล่านี้มิใช่ความสุขสูงสุดของชีวิตมนุษย์ ความสุขสูงสุดคือความสุขที่เกิด จากกิจกรรมทางปัญญา ซึ่งเกิดจากการใช้ปัญญาหยั่งรู้แจ้งเห็นความจริง ลอร่า พี.ฮาร์ทแมน (Laura P.Hartman) และโอเดส จาร์แดงส์(Joe Des Jardins) อธิบายว่า จริยธรรมหมายถึง แนวทางในการดำเนินชีวิตที่เหมาะสมเป็นส่วนหนึ่งของวิชาจริยศาสตร์ ซึ่งเป็นวิชาที่เน้นว่า มนุษย์ควรแสวงหาทางเลือกที่เหมาะสมในชีวิตได้อย่างไรและวิชาจริยศาสตร์เป็นวิชาที่ให้ เหตุผลว่าทำไมผู้คนจึงควรเลือกทำการกระทำบางอย่างและละเว้นการกระทำบางอย่าง กล่าวอีกนัยหนึ่งคือมนุษย์ควรรู้จักเลือกที่จะกระทำความดีและละเว้นการกระทำความชั่ว จริยธรรมถือเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งของการทำงานในวิชาชีพต่างๆ เนื่องจากในการทำงานในปัจจุบันนี้ต้องอยู่ภายใต้ระบบทุนนิยม ซึ่งต้องคำนึงถึงเรื่องของการ ประกอบการงาน ซึ่งในปัจจุบันนี้เป็นการงานซึ่งต้องอาศัยการฝึกฝนอบรมอย่างเป็นระบบ และเมื่อจบการศึกษาบุคคลจึงจะสามารถประกอบวิชาชีพที่ตรงกับที่เล่าเรียนมา นอกจากผู้ ประกอบวิชาชีพจะต้องยึดมั่นอยู่กับความรู้ที่ได้ศึกษามาแล้วยังจะต้องยึดมั่นอยู่กับกฎเกณฑ์ ของการประกอบวิชาชีพ ตลอดจนยึดมั่นอยู่ในจริยธรรมแห่งวิชาชีพนั้นๆด้วยจริยธรรมจึงมี ความสำคัญขึ้นตามลำดับและเป็นองค์ประกอบหนึ่งของความสำเร็จของผู้ประกอบวิชาชีพ ต่างๆ เพราะหากผู้ประกอบวิชาชีพใดประกอบวิชาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริตธำรงไว้ซึ่ง จริยธรรมแห่งวิชาชีพอย่างเคร่งครัดแล้ววิชาชีพนั้นก็จะเจริญก้าวหน้า มีเกียรติและศักดิ์ศรี ได้รับยกย่องจากสังคมและหากคนในวิชาชีพทุกวิชาชีพปฏิบัติวิชาชีพของตนได้เช่นนี้ย่อม บังเกิดผลเป็นความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติอย่างแน่นอน (กรัณศุภมาส เอ่งฉ้วนและ วริยา ชินวรรโณ, 2561) วิชาชีพวิศวกร วิศวกรคืออาชีพของผู้สร้างอาชีพวิศวกรจึงต้องพัฒนาความรู้ ความสามารถของตัวเองอยู่เสมอ เอาในยุคที่สังคมโลกกำลังเปลี่ยนไปวิศวกรรม 4.0 หนุน การพัฒนาประเทศที่ใช้เทคโนโลยีเป็นในการขับเคลื่อนความก้าวหน้าและองค์ความรู้ใหม่ๆ ทำให้คนไทยกำลังเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในหลายๆด้านไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3