2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์
15 วัฒนธรรม การดำรงชีวิตหรือแม้แต่การประกอบอาชีพ ซึ่งสายงานด้านวิศวกรรมเป็นอีกหนึ่ง อาชีพที่น่าจับตาเพราะต้องพึ่งพาเทคโนโลยีในการทํางานเกือบทุกขั้นตอนวิศวกรจึงต้อง ปรับตัวพร้อมกันความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น นิยามคำว่า บุคลากรสายวิศวกรรม หมายถึง วิศวกรเครื่องกล วิศวกรไฟฟ้า และ อิเลคทรอนิกส์ วิศวกรอุตสาหการ ผู้ออกแบบ ผู้ช่วยวิศวกรที่มีหน้าที่เขียนแบบ วางผัง และ กลุ่มของช่างมีหน้าที่นำแบบไปดำเนินการผลิต ประกอบ ติดตั้ง ตลอดจนการบำรุงรักษา เพื่อ ร่วมกันทำงานสร้างสรรค์ นวัตกรรมในระบบอัตโนมัติ ความหมายของจริยธรรมเป็นเรื่องหลักแห่งความประพฤติในทางทีดีที่ชอบเป็นเรื่อง เกี่ยวกับมาตรฐานแห่งการประพฤติปฏิบัติหรือเป็นหลักปฏิบัติที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นสิ่งที่ ถูกที่ควรในบางครั้งก็ใช้แทนค่าว่าคุณธรรม ซึ่งหมายถึงคุณงามความดีหรือแทนคำว่าศีลธรรม ก็ได้ จริยธรรมเป็นของระบบความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งที่ถูกต้องดีงามของสังคม ซึ่งมีส่วนกำหนด พฤติกรรมของบุคคลแต่ละบุคคลแต่ละคนตามบทบาทต่างๆ จริยธรรมซึ่งเป็นหลักปฏิบัตินั้น จะกล่าวถึงสิ่งที่ดีและไม่ดี สิ่งใดถูกสิ่งใดผิด สิ่งที่ควรและไม่ควรไว้ด้วย เมื่อมีการปฏิบัติตาม จะได้รับการยกย่องสรรเสริญ แต่ถ้ามีการละเมิดก็จะได้รับการตำหนิติเตียนหรือถูกลงโทษ จากสังคมทางจริยธรรมและการปฏิบัติตนตามหลักจริยธรรมของบุคคลในสังคม จริยธรรม (EIA) หมายถึง ธรรมชาติหรือหลักธรรมที่บุคคลควรประพฤติเป็นคุณธรรมที่ แสดงออกทางร่างกายในลักษณะที่ดีงามถูกต้องขึ้นเป็นสิ่งประสงค์ของสังคมซึ่ง วีรวิท คงศักดิ์ ก็ได้ให้ความหมายของจริยธรรมว่าหมายถึง ความประพฤติที่เป็นธรรมชาติเกิดขึ้นจาก คุณธรรมในตัวผู้ปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยขึ้นในสังคม (วีรวิท คงศักดิ์, 2555) พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 มีคำนิยามว่า “จริยธรรม คือ ธรรมที่ เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม” มีลักษณะไม่แตกต่างกับหลักธรรมที่ควร ประพฤติและพึงปฏิบัติระเบียบปฏิบัติซึ่งมุ่งปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความผาสุกในสังคมเป็นสิ่งที่ มนุษย์แต่งขึ้นตามเหตุผลของมนุษย์เองหรือตามความต้องการของมนุษย์คุณธรรมและ จริยธรรมเป็นเสมือนบทบัญญัติของความดีและความงามของจิตใจที่ส่งผลให้บุคคลประพฤติ ดีประพฤติชอบ หลักคุณธรรมและจริยธรรมจึงเป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญต่อการ ดำเนินชีวิตของบุคคลในทุกสาขาอาชีพ คุณธรรมและจริงรวมเกิดขึ้นมาพร้อมๆกับการพัฒนา ด้านสติปัญญาและการอบรมบ่มกล้าให้รู้จักผิดชอบชั่วดีของสังคม คุณธรรมและจริยธรรม สำหรับบุคคลสายวิศวกรรมเกี่ยวกับกับจรรยาบรรณวิชาชีพเป็นตัวกำหนดมาตรฐานให้มี คุณธรรมจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพ ความหมาย ดังนี้ จรรยาบรรณ (Code of Ethics) หมายถึง ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพ การงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานของสมาชิก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3