2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์

17 ภาครัฐมีการให้บริการแก่ประชาชนทั้งที่เป็นรายบุคคลและทั้งชุมชน โดยรัฐบาล กลางให้บริการแก่ประชาชนในวงกว้างขณะที่ท้องถิ่นให้บริการเฉพาะประชาชนในท้องถิ่น ของตนคุณภาพของการบริการเป็นสิ่งสําคัญทําอย่างไรรัฐจึงจะประกันได้ว่าประชาชนได้รับ บริการที่ดีการเน้นที่คุณภาพจะมีความหมายมากกว่าการเน้นปริมาณ การดําเนินการศึกษา ความต้องการของประชาชนเป็นสิ่งจําเป็นและการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมจะเป็นการ เพิ่มคุณค่าให้กับการบริการนั้นเพราะประชาชนถือว่าพวกเขามีส่วนในการบริการนั้นมิใช่ เพียงผู้รับบริการฝ่ายเดียวมีวิธีการมากมายที่นำมาสู่การปรับปรุงการให้บริการสาธารณะโดย เน้นที่การบริการที่มีคุณภาพในรูปแบบของความคุ้มค่าของเงินที่ลงทุนไปมุ่งที่ประสิทธิภาพ ของการบริการกับเรื่องของการเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนและการมีทางเลือกให้กับ ประชาชนที่เป็นลูกค้าของการให้บริการสาธารณะนั้นๆเพราะการจัดบริการสาธารณะเป็น การทํางานของรัฐที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของสาธารณชนโดยเฉพาะเป็นการไม่มุ่งหวังกําไรแต่ อย่างใด (ชยิสรา จันทะโร, 2559) 2.2.1 ความหมายของการจัดบริการสาธารณะ นันทวัฒน์ บรมานันท์ (2543) ได้อธิบายว่า บริการสาธารณะเป็นกิจกรรม (Activity) ของฝ่ายปกครองที่จัดทำขึ้นเพื่อประโยชน์สาธารณะโดยประกอบด้วยการเป็นกิจกรรมที่ เกี่ยวข้องกับนิติบุคคลมหาชนเป็นผู้ประกอบกิจกรรมด้วยตนเองและกิจกรรมดังกล่าวมี วัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์สาธารณะและตอบสนองความต้องการของประชาชน ประยูร กาญจนดุล (2538, หน้า 36) ได้ให้ความหมายของ “บริการสาธารณะ” ว่า หมายถึง กิจการที่ฝ่ายปกครองที่จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนองความต้องการส่วนรวม ของประชาชนและเพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์ตอบแทนมากที่สุดรวมถึงประชาชนทุกคน ต้องได้รับโอกาสในการรับบริการอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน บริการสาธารณะเป็นกิจกรรมที่ผู้ปกครองหรือรัฐบาลเป็นผู้จัดทำขึ้น เพื่อตอบสนอง ความต้องการของประชาชนหรือผลประโยชน์สาธารณะและที่สำคัญการบริการสาธารณะ เกิดขึ้นโดยยึดเอาผลประโยชน์สาธารณะ(Public interests) เป็นหลักการสำคัญในการ ดำเนินการ ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า บริการสาธารณะเป็นกิจกรรมที่การดำเนินงานโดยหน่วยงาน ของภาครัฐที่มุ่งเน้นให้การบริการแก่ประชาชน เพื่อให้ประชาชนเกิดความสะดวกสบายและ ได้รับผลประโยชน์สูงสุดจากบริการนั้นมิใช่เพื่อประโยชน์ของเอกชนรายใดรายหนึ่งซึ่ง กิจกรรมดังกล่าวคือ “การบริการสาธารณะ” ในการศึกษาครั้งนี้ถือได้ว่า บริการสาธารณะ เป็นกิจกรรมที่สำคัญในลำดับแรกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ต้องจัดทำขึ้นเพื่อ ตอบสนองความต้องการของประชาชนให้มากที่สุด (ประยูร กาญจนดุล, 2538)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3