2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์
18 อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาจากรูปแบบและเหตุผลในการ ให้คําจํากัดความหรือ ความหมายของบริการสาธารณะแล้วจะเห็นได้ว่าบริการสาธารณะนั้นจะต้องประกอบด้วย เงื่อนไขสองประการคือ 1) กิจกรรมที่ถือว่าเป็นบริการสาธารณะจะต้องเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับนิติบุคคล มหาชนซึ่งหมายถึงกรณี่นิติบุคคลมหาชนเป็นผู้ประกอบกจิกรรมด้วยตนเองอันได้แก่กจิกรรม ที่รัฐองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือรัฐวิสาหกิจเป็นผู้ดําเนินการและยังหมายความรวมถึง กรณีที่รัฐมอบกิจกรรมของรัฐบางประเภทให้เอกชนเป็นผู้ดําเนินการด้วย 2) กิจกรรมดังกล่าวมาแล้วในข้อ1จะต้องเป็นกิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อประโยชน์ สาธารณะและตอบสนองความต้องการของประชาชน สรุปความหมายของการจัดบริการสาธารณะคือกจิการที่อยู่ในความอํานวยการหรือใน ความควบคุมของฝ่ายปกครองที่จัดทําขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองความต้องการ ส่วนรวมของประชาชนและตอบสนองความต้องการที่จะใช้ชีวิตอยู่ในสังคมแห่งนั้นอย่าง ปลอดภัยซึ่งถูกจัดทําขึ้นโดยรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งรวมถึงองค์การบริหารส่วน ตําบลด้วย การจัดบริการสาธารณะที่ดีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรตั้งต้นจากการกำหนด หลักการและเป้าหมายที่บอกว่า “อะไรคือบริการสาธารณะที่ดี” วุฒิสาร ตันไชยและคณะ (2558) ได้เสนอมิติ การพิจารณาประเภทเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของบริการสาธารณะที่ ควรจัดทำในรูปแบบกิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคม อย่างไรก็ตามผู้เขียนเห็นว่ามิติการ พิจารณานี้สามารถนำมาปรับประยุกต์ใช้เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถนำมาเป็น หลักการพิจารณาว่าการจัดบริการสาธารณะของท้องถิ่นที่ดีควรมีลักษณะอย่างไรได้ 4 มิติ คือ (วุฒิสาร ตันไชย, 2559) 1.ความเหมาะสมของประเภทบริการสาธารณะ 2.ระดับการหาผลประโยชน์และการแสวงหากำไร 3.บุคคลหรือกลุ่มเป้าหมายของบริการสาธารณะ 4.ความสอดคล้องระหว่างประเภทของบริการสาธารณะและรูปแบบบริการสาธารณะ 2.2.2 หลักเกณฑ์สําคัญในการจัดทําบริการสาธารณะ นันทวัฒน์ บรมานันท์ (2543, หน้า 35-45) เป็นกิจกรรมซึ่งจัดว่าเป็น บริการ สาธารณะไม่ว่าจะเป็นบริการสาธารณะประเภทใดหรือเป็นบริการสาธารณะที่จัดทําโดยผู้ใด ย่อมจะต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์หรือหลักเกณฑ์เดียวกันหลักเกณฑ์สําคัญในการจัดทําบริการ สาธารณะนี้ ประกอบด้วยดังนี้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3