2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์

19 1.หลักว่าด้วยความเสมอภาค 2.หลักว่าด้วยความต่อเนื่อง 3.หลักว่าด้วยการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง 4. หลักความเป็นกลาง หลักว่าด้วยความเสมอภาคเป็นหลักเกณฑ์ที่สำคัญประการแรกในการจัดทําบริการ สาธารณะทั้งนี้เนื่องจากการที่รัฐเข้ามาจัดทำบริการสาธารณะนั้นรัฐมิได้มุ่งหมายที่จะจัดทํา บริการสาธารณะขึ้นเพื่อประโยชน์ของผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะแต่เป็นการจัดทําเพื่อประโยชน์ ของประชาชนทุกคนประชาชนทุกคนย่อมมีสิทธิได้รับการปฏิบัติหรือได้รับผลประโยชน์จาก บริการสาธารณะอย่างเสมอภาคกันหลักว่าด้วยความต่อเนื่อง เนื่องจากบริการสาธารณะเป็น กิจการที่มีความจําเป็นสําหรับประชาชน ดังนั้น หากบริการสาธารณะหยุดชะงักลงไม่ว่าด้วย เหตุใดก็ตามประชาชนผู้ใช้บริการสาธารณะย่อมได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายได้ด้วยเหตุ นี้บริการสาธารณะจึงต้องมีความต่อเนื่องในการจัดทํา หลักว่าด้วยการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบริการสาธารณะที่ดีนั้นจะต้องสามารถปรับปรุง แก้ไขได้ตลอดเวลาเพื่อให้เหมาะสมกับเหตุการณ์และความจําเป็นในทางปกครองที่จะรักษา ประโยชน์สาธารณะรวมทั้งเพื่อปรับปรุงให้เข้ากับวิวัฒนาการของความต้องการส่วนรวมของ ประชาชนด้วย หลักความเป็นกลางฝ่ายปกครองในทุกระดับที่เกี่ยวข้องจะเลือกปฏิบัติใน การ ดําเนินการเกี่ยวกับบริการสาธารณะไม่ได้ (นันทวัฒน์ บรมานันท์, 2560) การบริการสาธารณะโดยส่วนท้องถิ่นองค์กรที่ดำเนินการจัดทำบริการสาธารณะใน ส่วนท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา บริการสาธารณะที่จัดทำโดยส่วนท้องถิ่นนั้น ได้แก่ บริการ สาธารณะบางประเภทที่รัฐมอบหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้จัดทำเองเพื่อสนอง ความต้องการของประชาชนในเขตท้องถิ่นนั้น เช่น ดูแลรักษาความสะอาดของท้องถิ่น การจัดให้มีน้ำประปา เป็นต้น สำหรับผู้ดำเนินการจัดทํา ได้แก่ เจ้าหน้าที่ขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเป็น ผู้ดำเนินการใช้งบประมาณและทรัพย์สินบางส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการ จัดทำบริการสาธารณะที่ได้รับมอบหมายมีอำนาจที่จะดำเนินกิจการโดยอิสระ ส่วนกลาง เพียงแต่เข้าไปควบคุมดูแลเท่านั้น บริการสาธารณะที่เกี่ยวกับภารกิจขององค์กรปกครอง ท้องถิ่นและสอดคล้องกับความต้องการของคนในท้องถิ่น (อดิศรา เกิดทอง, 2546)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3