2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์

20 ก) เป็นกิจการที่เป็นไปเพื่อสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นสามารถแยก ออกหรือมีลักษณะแตกต่างไปจากท้องถิ่นอื่นเช่น การกำจัดขยะมูลฝอย การจัดให้มีการรักษา ทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ การจัดการศึกษาขั้นต้น เป็นต้น ข) เป็นกิจการอันใกล้ชิดกับคนในท้องถิ่นอันได้แก่ การให้บริการเกี่ยวกับชีวิตของคน ในท้องถิ่น เช่น การฌาปนกิจ การจัดให้มีน้ำสะอาด ไฟฟ้า การดูแลที่ โดยแบ่งหน้าที่กันและ ความรับผิดชอบในการดำเนินการทั้งนี้ เนื่องมาจากบริการสาธารณะดังกล่าวเป็นเรื่องที่ เกี่ยวข้องกับประโยชน์มหาชน ประโยชน์คนในท้องถิ่น เช่น การจัดการศึกษา ความต้องการ บริการทางด้านการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นความต้องการส่วนรวมทั้งประเทศ รัฐจึงต้องมีการ กำหนดหลักเกณฑ์ซึ่งเป็นมาตรฐานการศึกษาของตนในประเทศ ในขณะเดียวกันการศึกษาใน ชั้นประถมก็เป็นความต้องการของคนในท้องถิ่นแต่ละแห่งที่มีความแตกต่างกันไป ดังนั้นจึง เป็นหน้าที่ของท้องถิ่นที่จะจัดทำในส่วนนี้ ส่วนการศึกษาระดับสูงขึ้นไปเป็นการจัดกิจการที่ ต้องใช้เงินทุนจำนวนมากและบุคคลที่มีความรู้ความสามารถระดับสูง จึงเป็นหน้าที่ของรัฐที่ จะต้องทำเป็นต้น สำหรับความเห็นของนักวิชาการไทยนั้นได้ให้ความหมายเกี่ยวกับการให้บริการ สาธารณะค่อนข้างแคบเพราะมองเห็นถึงราชการที่ฝ่ายปกครองเป็นผู้จัดทำ ตลอดจนเป็น งานที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเป็นผู้จัดทำรวมถึงกิจการที่ฝ่ายปกครองให้เอกชนรั บ สัมปทานไปทำแทนด้วย เช่น กิจการอันเป็นสาธารณูปโภค หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า การให้บริการสาธารณะเป็นกิจการซึ่งอยู่ในความอำนวยการหรือความควบคุมของฝ่าย ปกครองซึ่งจัดให้มีขึ้น เพื่อสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชน ดังนั้น การให้บริการสาธารณะเป็นกิจการที่รัฐเป็นผู้มอบให้กับประชาชนเพื่อความ กินดีอยู่ดี โดยรัฐจะเล็งเห็นถึงความสำคัญของประชาชนและตอบสนองความต้องการการของ ประชาชนให้มากที่สุด โดยมิได้คำนึงผลกำไรเช่นเดียวกับเอกชนแต่ประการใด เช่น การกำจัด ขยะมูลฝอย การจัดให้มีการรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ การจัดการศึกษาหรือ การจัดให้มีการควบคุมดูแล เพื่อประโยชน์สูงสุดคนในท้องถิ่นแต่ละแห่งที่มีความแตกต่างกัน ไป จากนัยดังกล่าวอาจจำแนกเป็นหลักการสำคัญของการให้บริการสาธารณะ ได้ดังนี้ 1. บริการสาธารณะต้องเป็นกิจการที่อยู่ในอำนวยการหรือในการควบคุมของฝ่าย ปกครองเท่านั้นกล่าวคือ การให้บริการสาธารณะประเภทต่างๆ นั้นจะออกมาในรูปของ ราชการที่ฝ่ายปกครองในฐานะผู้อำนวยการหรือผู้ควบคุมดูแลพิทักษ์ผลประโยชน์และความ กินดีอยู่ดีของประชาชนเป็นผู้ดำเนินการเอง ทั้งนี้อาจดำเนินการโดยอาศัยอำนาจพิเศษใน ทางการปกครองหรือด้วยเงินในงบประมาณของแผ่นดินหรืองบประมาณขององค์การส่วน ท้องถิ่นต่าง ๆ (Felix A, Nigro, อ้างถึงใน อภิศรา เกิดทอง, 2546, หน้า 16) ซึ่งโดยทั่วไป

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3