2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์

25 การตัดสินใจเป็นส่วนหนึ่งของบทบาทของผู้บริหารที่เกิดจากตําแหน่งและอํานาจที่ เป็นทางการคือบทบาทการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur) บทบาทผู้จัดการ สถานการณ์ที่เป็นปัญหา (Disturbance Handler) บทบาทผู้จัดทรัพยากร (Resource Allocator) และบทบาทผู้เจรจาต่อรอง (Negotiator) 2.4.2 ประเภทของการตัดสินใจ สุทัสสา อุปลกะลิน ได้แบ่งประเภทการตัดสินใจออกเป็น 2 อย่างคือ 1. การตัดสินใจภายใต้สภาวการณ์แน่นอน (Decision making under certainly) เป็นการตัดสินใจที่ทราบสภาวการณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่เกิดขึ้นในอนาคตได้ล่วงหน้า อย่างถูกต้องการตัดสินใจภายใต้สภาวการณ์แน่นอนจึงมักไม่ค่อยมีโอกาสนำมาใช้ในทางสถิติ 2. การตัดสินใจภายใต้สภาวการณ์ที่ไม่แน่นอน (Decision making under certainly) เป็นการตัดสินใจที่ผู้ตัดสินไม่ทราบสภาวการณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้นๆ หรืออาจทราบแต่ไม่แน่ชัดเท่าที่ควรกล่าวโดยสรุปว่าการตัดสินใจนั้นเกิดขึ้นได้ด้วยเหตุผล สำคัญคือมีปัญหาเกิดขึ้นทำให้วัตถุประสงค์บรรลุผลและจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ที่มีอยู่ นั้นผิดพลาดและบกพร่องหรือไม่ทันสมัย จึงจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้เหมาะสมและ ก้าวหน้า (สุทัสสา อุปลกะลิน, 2548) 2.4.3 กระบวนการตัดสินใจ วิชัย โถสุวรรณจินดา (2535, หน้า 187-194) ได้เสนอขั้นตอนกระบวนการตัดสินใจ ไว้ 7 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การตระหนักในปัญหา หมายถึง การค้นหาปัญหาและตระหนักถึง ความสําคัญของปัญหาก่อน 2. การระบุและวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาโดยอาจเริ่มจากระบุสภาพและ ขอบเขตของปัญหาก่อนและพยายามค้นหาว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ก่อให้เกิดปัญหาโดย พิจารณาในแนวกว้าง 3. กําหนดทางเลือกโดยเลือกใช้ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับตัวปัญหาให้ มากที่สุดให้ได้ข้อมูลที่ทันสมัยที่สุด 4. ประเมินทางเลือกและจัดอันดับความสําคัญ โดยใช้วิจารณญาณของ ผู้บริหารประเมินทางเลือกให้เหมาะสมกับสภาพและความสําคัญของปัญหาควรมีเกณฑ์ มาตรฐานสําหรับประเมินผล 5. การตัดสินใจทางเลือกที่ดีที่สุด โดยสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ต้อง คํานึงถึงประสิทธิภาพสูงสุดหรือไม่สามารถนําเอาไปปฏิบัติได้หรือไม่

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3