2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์

27 การยุติข้อปัญหาไม่คุ้มค่าและไม่สมประโยชน์ทำให้เสียเวลาและเสียสิทธิในที่อยู่อาศัยเพราะ ต้องไปหาที่อยู่ใหม่อีกทั้งกฎหมายในปัจจุบันมีอัตราโทษเบาทำให้ผู้ประกอบการมิได้ตระหนัก ถึงความเดือดร้อนของผู้บริโภคโดยตรง ถึงแม้ว่าจะมีหน่วยงานเข้ามาช่วยเหลือไกล่เกลี่ยใน การชดใช้เยียวยา อย่างไรก็ดีแม้ว่าตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2541จะได้มีการบัญญัติ กำหนดสิทธิของผู้บริโภคไว้ก็ตามแต่สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญาหรือการ แก้ไขข้อสัญญาให้มีความชัดเจนและครอบคลุมความรับผิดของผู้ประกอบการรวมถึงในส่วน ของความชำรุดบกพร่องของโครงสร้างที่ผู้ประกอบการดำเนินการยังไม่เพียงพอและ เหมาะสมเพราะเป็นเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดการผิดสัญญาอันจะต้องมีแนวทางในการป้องกัน ปัญหาเพื่อที่จะช่วยให้ผู้บริโภคไม่ถูกเอาเปรียบจากผู้ประกอบการเกินสมควร อย่างไรก็ดี แนวทางดังกล่าวยังมีความแตกต่างกับกรณีของศาลที่มีแนวทางในการเยียวยาเพื่อแก้ไข บรรเทาผลร้ายทางแพ่งหรือค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้บริโภคเท่านั้น ดังนี้ปัญหาก็ยังคงเกิดขึ้นใน ปัจจุบันเพียงเพราะยังไม่มีการปรับปรุงแก้ไขข้อบัญญัติทางกฎหมายเกี่ยวกับบทลงโทษให้มี อัตราที่สูงมากขึ้นและมาตรการเชิงลงโทษที่เข้มงวดอีกทั้งไม่มีการทำหลักประกันความ คุ้มครองให้แก่ผู้บริโภคในขณะที่ทำสัญญาซื้อขายบ้าน หากกำหนดให้มีหน่วยงานเข้ามามี ส่วนร่วมระหว่างผู้ประกอบการกับผู้บริโภคซึ่งจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยเพิ่มความมั่นใจ แก่ผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยที่ดีตลอดจนการคุ้มครองเยียวยาที่เหมาะสมได้มากกว่าใน ภาวะที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน (พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ) 2.5.1 กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค หลักการและเหตุผลตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 เพื่อเป็นการ จัดตั้งองค์กรของรัฐขึ้นในการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคโดยตรงเพราะกฎหมายอื่นๆได้บัญญัติ ขึ้นเพื่อควบคุมผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคทางอ้อมโดยผู้บริโภคไม่สามารถ ใช้สิทธิในการฟ้องร้องผู้ประกอบธุรกิจทางอาญาต่อศาลได้ส่วนการดำเนินการทางแพ่งเป็น การสร้างภาระและเสียค่าใช้จ่ายมาก ซึ่งผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังไม่อยู่ในฐานะที่จะดำเนินคดีด้วย ตนเองได้”เมื่อพิจารณาถึงคำนิยามผู้บริโภค หมายความว่า ผู้ซื้อหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ ประกอบธุรกิจหรือผู้ซึ่งได้รับการเสนอหรือการชักชวนจากผู้ประกอบธุรกิจ เพื่อให้ซื้อสินค้า หรือรับบริการและหมายความรวมถึงผู้ใช้สินค้าหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจโดย ชอบแม้มิได้เป็นผู้เสียค่าตอบแทนก็ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดย ฉบับที่ 2 พ.ศ.2541 แนวคิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ซึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดย ฉบับที่ 2 พ.ศ.2541 จึงได้บัญญัติสิทธิของผู้บริโภคที่จะได้รับความคุ้มครอง ตามกฎหมาย 5 ประการ คือ 1) สิทธิที่จะได้รับ ข่าวสาร 2) สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหา

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3