2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์

30 ผู้ประกอบการไม่ดำเนินโครงการต่อหรือก่อสร้างแล้วหยุดชะงักลงโดยมิใช่ความผิดของ ผู้บริโภคทำให้มีการร้องเรียนจำนวนมากซึ่งเหตุของการร้องเรียนดังกล่าวเกิดจากปัญหา ต่อไปนี้ ปัญหาเรื่องการสร้างบ้านหรืออาคารที่พักอาศัยแล้วไม่เสร็จตามสัญญา ปัญหา โครงการบ้านจัดสรรมีความหลากหลายไม่ว่าจะเป็นเรื่องการก่อสร้างล่าช้า สร้างแล้วไม่เสร็จ ไม่ดำเนินการต่อปัญหานี้เกิดจากมิได้ทำสัญญาที่มีมาตรฐานอย่างชัดเจน โดยผู้ประกอบการ ส่วนใหญ่จะให้ทางฝ่ายผู้ซื้อวางเงินมัดจำในการสร้างบ้านก่อนบางแห่งให้วางเงิน 20 เปอร์เซ็นต์ของราคาบ้านจากนั้นจึงดำเนินการสร้างบ้านให้แล้วให้ผู้ซื้อติดต่อกับทางธนาคาร เพื่อขออนุมัติสินเชื่อบ้านโดยประเมินสิ่งปลูกสร้างให้ซึ่งหลังจากผู้ประกอบการได้รับมอบเงิน มัดจำในการสร้างบ้านแล้วผู้ประกอบการบางรายไม่ดำเนินการทำให้แล้วเสร็จกลับทิ้งงาน วิศวกรบางรายได้รับเงินไปแล้วไม่ควบคุมงานต่อหรือไม่จ่ายค่าจ้างแรงงานให้กับคนงานจึงทำ ให้คนงานไม่ก่อสร้างบ้านต่อให้จนเสร็จรวมถึงกรณีผู้ประกอบการไม่ทำการแจ้งให้ผู้บริโภค ทราบกรณีการก่อสร้างต้องหยุดชะงัก ส่งผลทำให้ผู้บริโภคไม่ได้รับมอบบ้านตามที่ตกลงกันไว้ ในสัญญายกตัวอย่างเช่น ผู้ว่าจ้างตกลงจ้างและผู้รับจ้างตกลงรับจ้างก่อสร้างอาคารบ้านเดี่ยว หนึ่งชั้นครึ่ง จำนวน 1 หลังและผู้ว่าจ้างตกลงชำระเงินเฉพาะค่าแรงให้ผู้รับจ้างทั้งหมดเป็น เงิน 470,000 บาท ได้รับค่าจ้างไปแล้วโดยประมาณ 300,000 บาทของค่าจ้างทั้งหมดโดยที่ งานไม่เป็นตามข้อที่ระบุในสัญญาแบบจากการประเมินความคืบหน้าของธนาคาร ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554 งานอยู่ที่โดยเฉลี่ย 50 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ได้ทำการชี้แจ้งให้ผู้รับเหมา รับทราบมาตลอดเสร็จตามงวดที่ธนาคารกำหนดแต่ก็ไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ ประกอบกับทางผู้รับเหมาไม่สามารถหาช่างมาดำเนินการให้แล้วเสร็จตามสัญญา ดังนี้แล้วผู้ ว่าจ้างได้ทำการติดตามไปที่บ้านของผู้รับเหมาแต่ผู้รับเหมาไม่ยอมเจรจาประกอบกับช่างไม่ ยอมรับโทรศัพท์ ปัจจุบันช่างได้เก็บเครื่องมือไปทำงานที่อื่นแล้วส่งผลกระทบทำให้ผู้ว่าจ้าง ต้องเสียเวลาในการติดตามและต้องเสียค่าน้ำมันรถในการติดตามแต่ละครั้งและเสียดอกเบี้ย ให้กับธนาคารทุกเดือน ปัญหาการเกิดความชำรุดบกพร่องและการก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน ตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 598 ได้กำหนดให้ผู้รับจ้างไม่ต้องรับผิดในความชำรุด บกพร่องถ้าผู้ว่าจ้างรับมอบงานที่ชำรุดบกพร่องนั้นโดยมิได้อิดเอื้อน แต่ผู้รับจ้างจะต้องรับ มอบงานในกรณี ที่ 1) ความชำรุดบกพร่องไม่พบได้ในขณะรับมอบ และ 2) ผู้รับจ้างปิดบัง เกี่ยวกับความชำรุดบกพร่อง จากกรณีทั้งสองประเด็นข้างต้นผู้รับจ้างจะต้องรับผิดเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่อง เพียงแต่ที่ปรากฏขึ้นภายในปีหนึ่งนับแต่วันส่งมอบหรือที่ปรากฏขึ้นภายในห้าปี ถ้าการที่ทำ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3