2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์

31 นั้นเป็นสิ่งปลูกสร้างกับพื้นดินตอนการตรวจสอบเจ้าหน้าที่ขององค์กรที่มีหน้าที่เห็นว่าผ่าน การประเมินก็จะออกใบรับรองให้ในทุกขั้นตอนว่าได้ผ่านการประเมินประสิทธิภาพแล้วซึ่ง เคหสถานที่สร้างใหม่จะต้องปลูกสร้างให้มีคุณภาพ โดยจะมีอายุของการรับประกันเป็นเวลา 10 ปีเจ้าของโครงการสามารถติดเครื่องหมายไว้ให้ประชาชนทั่วไปได้พิจารณาและรับทราบ ได้เป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคอย่างไรก็ดีประเทศญี่ปุ่นก็ยังมีการจัดตั้งระบบการ ประกันภัยสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เพื่อการอยู่อาศัยและทรัพย์สินภายในสิ่งปลูกสร้างซึ่งก็จะได้รับ ความคุ้มครองจากอัคคีภัย การทำลายหรืออุทกภัยที่มีสาเหตุโดยตรงหรือโดยอ้อมจาก แผ่นดินไหวภูเขาไฟระเบิด โดยกำหนดให้เป็นทางเลือกเพิ่มเติมในการทำประกันกรณีที่มี ความเสียหายสำหรับโครงสร้างหลักของสิ่งปลูกสร้างที่ใช้สำหรับอยู่อาศัยประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายเล็กน้อยที่ใช้ในการซ่อมแซมพื้นที่เพื่อวัตถุประสงค์ในการซ่อมแซมสิ่งปลูกสร้างนั้น ให้กลับสู่สภาพเดิม เมื่อสิ่งปลูกสร้างที่ใช้สำหรับอยู่อาศัยไม่สามารถใช้เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยได้ อีกเพราะความเสียหายจากดินถล่มถือว่าสิ่งปลูกสร้างนั้นเสียหายถึง 50 เปอร์เซ็นต์ หรือ 70 เปอร์เซ็นต์ความคุ้มครองนั้นก็จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามจำนวนเงินเอาประกันภัยเมื่อ นำมาเทียบกับผู้ประกอบการจัดสรรในประเทศไทยมีการดำเนินการถมที่ดินในระยะเวลาสั้น ซึ่งน่าดินมาถมจึงทำให้ความแน่นหนาของที่ดินยังไม่เพียงพอที่จะทำการก่อสร้างแต่ผู้จัดสรร ก็เร่งดำเนินกิจการสร้างบ้านเพื่อให้ทันกับต้นทุนที่ตนได้ลงทุนไป จึงก่อให้เกิดปัญหาความ ชำรุดบกพร่องขึ้นได้ง่ายดังกรณีตัวอย่างเช่น เมื่อช่วงกลางปี พ.ศ.2559 มีผู้บริโภคร้องเรียน ไปยังสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อร้องเรียนบริษัททางโครงการเกี่ยวกับปัญหาดินทรุดตัว ไฟฟ้ารั่ว น้ำรั่ว ท่อตันและไม่ได้รับการเยียวยารวมทั้งสิ้น 250 หลังคาเรือนต่อมา ผู้ประกอบการยินยอมซ่อมแซมให้ทุกหลังแต่ซ่อมแซมไม่สมบูรณ์ยังมีความชำรุดบกพร่องอยู่ ลูกบ้านจำนวน 23 หลังคาเรือนจึงรวมตัวกันฟ้องร้องศาลแพ่งธนบุรีเมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2560 เพื่อขอเงินค่าเยียวยามาซ่อมแซมบ้านเองซึ่งจากสภาพปัญหานั้นผู้เสียหายเพียง ต้องการให้โครงการหรือผู้ประกอบการแก้ไขส่วนที่ชำรุดบกพร่องในการก่อสร้างอันเป็นปกติ ธรรมดาของผู้ซื้อเท่านั้นอย่างไรก็ดี เหตุดังกล่าวจึงส่งกระทบผลให้ลูกบ้านบางรายไม่กล้าเข้า อยู่อาศัยเพราะเกรงว่าบ้านจะถล่มลงมาเพราะบ้านทรุดตัวและผู้บริโภคไม่สามารถใช้ สาธารณูปโภคได้ตามปกติ (ชัชวรรณ์ ลีโรจนวุฒิกุล และ สุวนัย ทะคำสอน,2561) 2.6 ทฤษฎีลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ 2.6.1 กระบวนการวิเคราะห์เชิงลําดับชั้น กระบวนการลําดับชั้นเชิงวิเคราะห์เป็นกระบวนการที่ใช้ในการ “วัดค่าระดับ” ของ การตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและให้ผลการตัดสินใจที่ถูกต้องตรงกับ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3