2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์

32 เป้าหมายของการตัดสินใจได้มากที่สุด กระบวนการที่ว่านี้ได้รับการคิดค้นเมื่อปลายทศวรรษ ที่1970 โดยศาสตราจารย์Thomas Saaty แห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนียตั้งแต่กระบวนการ นี้ได้รับการคิดค้นขึ้นมาก็มีการนําไปประยุกต์ใช้ในเรื่องที่เกี่ยวกับการตัดสินใจต่างๆมากมาย เช่น การตัดสินใจเกี่ยวกับการดําเนินงานทางธุรกิจ ได้แก่ การสั่งซื้อวัตถุดิบ การเลือกสถานที่ ในการประกอบการ การกําหนดกลยุทธ์ทางการตลาดฯลฯ รวมถึงการประยุกต์ใช้ในเรื่องของ การบริหารทรัพยากรบุคคลในองค์กร เช่น การจัดลําดับความสามารถของพนักงาน การ ประเมินทางเลือกของสายอาชีพ การสํารวจทัศนคติของพนักงานฯลฯ ซึ่งจุดเด่นของ กระบวนการลําดับขั้นเชิงวิเคราะห์มีดังนี้ (จุฬาลักษณ์ กองเพชร, 2559) 1. ให้ผลการสํารวจน่าเชื่อถือกว่าวิธีอื่นๆเนื่องจากใช้วิธีการเปรียบเทียบเชิงคู่ในการ ตัดสินใจก่อนที่จะลงมือตอบคําถาม 2. มีโครงสร้างที่เป็นแผนภูมิลําดับขั้นเลียนแบบกระบวนความคิดของมนุษย์ทําให้ง่าย ต่อการใช้และการทําความเข้าใจ 3. ผลลัพธ์ที่ได้เป็นปริมาณตัวเลขทําให้ง่ายต่อการจัดลําดับความสําคัญและยัง สามารถนําผลลัพธ์ดังกล่าวไปเปรียบเทียบ (Benchmarking) กับหน่วยงานอื่นๆได้ 4. สามารถขจัดการตัดสินใจแบบมีอคติหรือลำเอียงออกไปได้ 5. ใช้ได้ทั้งกับการตัดสินใจแบบคนเดียวและแบบที่เป็นกลมหรือหมู่คณะ 6. ก่อให้เกิดการประนีประนอมและการสรางประชามติ 7. ไม่จําเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญพิเศษมาคอยควบคุม จากการศึกษาทฤษฎีกระบวนวิเคราะห์เชิงลําดับชั้นในครั้งนี้มีขั้นตอนการตัดสินใจ คล้ายความคิดมนุษย์และมีความละเอียดชัดเจนจึงได้ถูกนํามาใช้เป็นเครื่องมือในการคัดเลือก ผู้รับเหมาปรับปรุงอาคารในงานวิจัยครั้งนี้ 2.6.2 คุณสมบัติของผู้รับเหมาก่อสร้าง คุณสมบัติของผู้รับเหมาก่อสร้างประกอบด้วยคุณสมบัติหลักและคุณสมบัติย่อย ดังนี้ 1. ผลงานที่ผ่านมาในอดีตและปัจจุบัน ได้แก่ ประสบการณ์ของผู้รับเหมาก่อสร้าง ผลงานที่ผ่านมาของผู้รับเหมาก่อสร้าง การพิจารณาในด้านคุณภาพ ด้านเวลา ประวัติการทิ้ง งาน และความผิดพลาดที่ผ่านมา ปริมาณงานที่รับผิดชอบอยู่ในปัจจุบัน 2. การก่อสร้างและการบริหารโครงการผู้รับเหมาควรมีคุณสมบัติดังนี้ ความสามารถ ในการบริหารจัดการ คุณภาพงาน ระยะเวลาการทํางานโครงการ ความสามารถในการ ก่อสร้าง ระยะเวลาในการก่อสร้างน้อย ผู้รับเหมาก่อสร้างสามารถดําเนินงานก่อสร้างได้อย่าง รวดเร็วตามแผนงานที่ตกลงกันไว้ การเข้าถึง ผู้รับเหมาก่อสร้าง มีการดําเนินงานที่โปร่งใส

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3