2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์

34 จำเลยไม่มีผลถือว่ามีสัญญาประกวดราคา จำเลยไม่ยอมทำสัญญาจ้างเหมาตามคำเสนอจึง เป็นฝ่ายผิดสัญญาประกวดราคา (ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์, 2565) (คําพิพากษาฎีกาที่ 931/2408) โดยคำเสนอจะสิ้นความผูกพันได้ 3 กรณี ดังนี้ คือ 1. เมื่อมีการบอกปัดคำเสนอ 2. เมื่อไม่มีการสนองรับคำเสนอ 3. เมื่อผู้เสนอตายหรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ องค์ประกอบของการทำสัญญา โดยทั่วไปแล้วเพื่อให้สัญญามีผลบังคับใช้ตามกฎหมายในการทำสัญญาระหว่าง บุคคลสองฝ่ายควรมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ 1.ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะมีความผูกพันกันทางกฎหมาย (Mutual Assent) 2.ทั้งสองฝ่ายต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการทำสัญญาตามกฎหมาย (Legal Capacity to Contract) 3.เนื้อหาในสัญญาต้องชัดเจนไม่คลุมเครือ (Subject Matter) 4. สิ่งที่ทำสัญญาต้องประเมินค่าได้ (Valuable Consideration) 5.สัญญาต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย (Legal) บทบัญญัติว่าด้วยสัญญาในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บทบัญญัติว่าด้วยสัญญาอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 2 ว่าด้วย หนี้ ลักษณะ 2 สัญญาซึ่งเป็นมูลเหตุแห่งหนี้ที่สำคัญและใช้กันมากที่สุดตั้งแต่มาตรา 354 ถึง มาตรา 394 เริ่มต้นการกล่าวถึงการก่อให้เกิดสัญญาซึ่งใช้กับสัญญาทุกประเภทไม่ว่าจะเป็น สัญญาที่ไม่มีชื่อหรือมีชื่อตามเอกเทศสัญญาในบรรพ3 จากนั้นกล่าวถึงผลของสัญญามัดจำ และเบี้ยปรับสิ้นสุดที่การบอกเลิกสัญญา ประเภทของสัญญาก่อสร้าง สัญญาก่อสร้างที่มีชื่อระบุไว้ในประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ บรรพ 3 ว่าด้วยเอกเทศสัญญา มาตราที่ 587 ถึง 607 โดยสัญญาจ้างทำของมี ลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งเป็นสัญญาที่ก่อให้เกิดหนี้ระหว่างคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย โดยหนี้ของผู้ว่าจ้างก็คือการจ่ายค่าจ้างในการทํางานให้ผู้รับจ้าง หนี้ของผู้รับจ้างก็คือการ ทำงานให้ผู้ว่าจ้างจนแล้วเสร็จสมบูรณ์ โดยสัญญาก่อสร้างแบ่งออกเป็น 4 แบบ ดังนี้ 1 .สัญญาแบบรวมยอด (Lump Sum) จะกระทำได้ต่อเมื่อมีการสำรวจ ออกแบบ ตลอดจนจัดทำรายการก่อสร้างละเอียดไว้ค่อนข้างสมบูรณ์ ในการจ่ายค่างวดงาน สามารถ กระทำโดยกำหนดเป็นปริมาณงานที่ทำไว้อย่างชัดเจนตามความก้าวหน้าของงานก่อสร้าง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3