2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์

37 หลักการดังกล่าวได้รับการครับว่าถูกต้องและเป็นธรรมตลอดมาในอดีตเนื่องจากมี พื้นฐานของหลักความเสมอภาพและเสรีภาพแห่งบุคคลรองรับอยู่เมื่อสังคมยอมรับว่าทุกคนมี ความเท่าเทียมกันในทางกฎหมายและค่าเสรีภาพที่จะถูกบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลงในนิติ กรรมสัญญาแต่ความเป็นจริงของสังคมปัจจุบันหลักความเสมอภาคของบุคคลเป็นเพียง หลักการไม่ได้ถูกนำมาใช้จริงในทางปฏิบัติและช่องว่างระหว่างบุคคลอยู่ในระดับที่ต่างกัน มากไม่ว่าจะเป็นทางด้านเศรษฐกิจ การศึกษา สติปัญญา ฐานข้อมูลและโอกาสที่จะเลือกสิ่งที่ เกิดขึ้นในชีวิตและสามารถใช้หลักความศักดิ์สิทธิแห่งการแสดงการเอารัดเอาเปรียบคนส่วน ใหญ่มีอำนาจต่อรองง่ายกว่าอย่างไรก็ได้ กฎหมายและศาลไม่สามารถเข้าไปช่วยแก้ไขเยียวยา เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมขึ้นสภาพสังคมจึงเสมือนปลาใหญ่กินปลาเล็กและมือใครยาวสาวได้ สาวเอาครั้นเมื่อสังคมสลับซับซ้อนมากขึ้น ระบบการผลิตและจำหน่ายสินค้าและการ ประกอบธุรกิจมีความเข้มแข็งและมีอำนาจครอบงำตลาดมากขึ้นประชาชนส่วนใหญ่ที่อยู่ใน ฐานะผู้บริโภคสินค้าและบริการเหล่านั้นกลับมีทางเลือกน้อยลงช่องว่างทางเศรษฐกิจและ สังคมขยายตัวมากขึ้นจนถึงระดับทำให้คนที่ด้อยกว่าตกอยู่ในฐานะที่ไม่เพียงแต่จะตั้งเงื่อนไข ต่อรองในเนื้อหาสาระแห่งสัญญาไม่ได้เท่านั้น แม้จะใช้เสรีภาพไม่ยอมเข้าทำสัญญาที่ไม่เป็น ธรรมนั้นก็ไม่ได้เนื่องจากสภาพความเป็นจริงทางเศรษฐกิจและสังคมมิได้เปิดโอกาสให้มี ทางเลือกอื่นที่เหมาะสมเพียงพอบรรดาผู้ประกอบธุรกิจการค้าหรือวิชาชีพรวมทั้งผู้ที่มีอำนาจ ต่อรองเหนือกว่าคนทั่วๆไปจึงอยู่ในฐานะที่ได้เปรียบในการทำสัญญาอย่างยิ่ง ซึ่งมีจำนวนไม่ น้อยที่ได้ใช้ข้อได้เปรียบนี้กำหนดเงื่อนไขในร่างสัญญาให้เป็นคุณแก่ตนฝ่ายเดียวโดยไม่ คำนึงถึงความเป็นธรรมและนำเสนอร่างสัญญานั้นต่อผู้บริโภคและคู่กรณีที่มีอำนาจต่อรอง น้อยกว่า (สุพิศ ปราณีตพลกรัง, 2563) 2. ขอบเขตของพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 1) หากบัญญัติให้อำนาจศาลสามารถตรวจสอบความไม่เป็นธรรมในนิติกรรมอื่น ใกล้เคียงกับสัญญาได้ ได้แก่ ข้อตกลง ประกาศหรือคำแจ้งความที่ได้ทำไว้ล่วงหน้าเพื่อยกเว้น หรือจำกัดความรับผิดตาม มาตรา 8 และความตกลงหรือความยินยอมของผู้เสียหายในคดี ละเมิดตาม มาตรา 9 ดังนั้น จึงต้องบัญญัตินิยามศัพท์คำว่า “ข้อสัญญา” ไว้ในมาตรา 3 ให้หมายความว่า ข้อตกลง ความตกลงและความยินยอมรวมทั้งประกาศและคำแจ้งความเพื่อยกเว้นหรือจำกัด ความรับผิดด้วย 2) พระราชบัญญัตินี้มิได้ให้อำนาจศาลเข้าไปตรวจสอบหรือปรับแก้นิติกรรมสัญญา ได้เป็นการทั่วไปเฉพาะนิติกรรมสัญญาบางประเภทบางลักษณะเท่านั้นที่อยู่ในขอบอำนาจ ตรวจสอบ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3