2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์

41 การประกอบวิชาชีพ นอกจากจะต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ ความชำนาญ แล้วยังจะต้องมีจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพและบางวิชาชีพเป็นวิชาชีพที่ควบคุม ดังนั้นจึงต้องมีองค์กรที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการประกอบวิชาชีพซึ่งเริ่มตั้งแต่การรวมตัว กับจัดตั้งเป็นองค์กร การเปิดรับสมาชิก การควบคุมโดยการออกใบอนุญาต การควบคุม จรรยาบรรณ รวมไปถึงการ ลงโทษด้วยการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตหรือการขัดออก หรือให้พ้นจากการเป็นสมาชิก องค์กรที่ใช้ควบคุมการประกอบวิชาชีพด้วยการบัญญัติให้ผู้ประกอบวิชาชีพต้องมี ใบอนุญาต หากไม่มีใบอนุญาตไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ถ้าฝ่าฝืนมีโทษตามที่กฎหมาย บัญญัติไว้ เช่น วิชาชีพทนายความ ตามพระราชบัญญัติทนายความ วิชาชีพมัคคุเทศ ตามพระราชบัญญัตินำเที่ยวและมัคคุเทศน์ วิชาชีพทันตแพทย์ ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพทันตกรรม วิชาชีพเภสัชกรรม ตามพระราชบัญญัติสภาเภสัชกรรม วิชาชีพการประกอบโรคศิลปะ ตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ วิชาชีพการพยาบาลและวิชาชีพการผดุงครรภ์ ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพการ พยาบาลนระผดุงครรภ์ วิชาชีพเวชกรรม ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม วิชาชีพวิศวกรรม ตามพระราชบัญญัติวิศวกร วิชาชีพสถาปัตยกรรม ตามพระราชบัญญัติสถาปนิก วิชาชีพสัตวแพทย์ ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวแพทย์ วิชาชีพผู้สอบบัญชี ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี วิชาชีพครู ตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา วิชาชีพเทคนิคการแพทย์ ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ วิชาชีพกายภาพบำบัด ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพกายภาพบำบัด 2.8.2 องค์กรที่ไม่มีการออกใบอนุญาตแต่สมาชิกขององค์กร ได้รับสิทธิพิเศษในการประกอบวิชาชีพด้านอื่นๆ เช่น เนติบัณฑิตยสภา เนื่องจาก กฎหมายมิได้กำหนดเรื่องใบอนุญาตไว้แต่ผู้ที่จะประกอบวิชาชีพด้านอื่นๆจะต้องมีคุณสมบัติ ประการหนึ่งคือการเป็นสมาชิกขององค์กรอย่างเช่น การสมัครสอบเข้ารับการคัดเลือกเพื่อ ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหรืออัยการจะต้องเป็นสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภากล่าวคือ สอบไล่ได้ความรู้ชั้นเนติบัณฑิตยสภาหรืออย่างสภาทนายความกำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาต ทนายความจะต้องเป็นสมาชิกของเนติบัณฑิตยสภาอย่างน้อยชั้นวิสามัญสมาชิก เป็นต้น

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3