2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์

42 อาชีพที่ถูกควบคุมโดยหน่วยงานของรัฐตามกฎหมายต่างๆ เช่น กฎหมายระเบียบ บริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และกฎหมายเฉพาะ อื่น ๆ ไม่ว่าการควบคุมจะอยู่ในรูปขององค์กรหรือในรูปของคณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งขึ้นใน หน่วยงานราชการก็ตามหลักความรับของผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพ เมื่อเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญแล้ว หากการ ประกอบวิชาชีพส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่นหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่นก็ควรที่ จะต้องรับผิดต่อความเสียหายนั้น ซึ่งความรับผิดของผู้ประกอบวิชาชีพย่อมต้องมีมากกว่า บุคคลธรรมดาทั่วไป เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรไม่ได้เป็นลูกจ้างขององค์กรใดโดยเฉพาะแต่ เป็นผู้ประกอบวิชาชีพอิสระหากมีการตกลงเข้าทำงานของวิศวกรให้กับเจ้าของโครงการใด โครงการหนึ่งก็มักจะทำงานในรูปของสัญญาว่าจ้างไม่ว่าจะเป็นการว่าจ้างให้ออกแบบ ก่อสร้างหรือคำนวนแบบก่อสร้าง ควบคุมการก่อสร้าง วางโครงการก่อสร้าง ตรวจสอบงาน หรือแม้กระทั่ง ให้คำปรึกษาวิชาวิศวกรรม เกิดนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างเจ้าของโครงการเป็นผู้ ว่าจ้างและวิศวกรซึ่งเป็นผู้รับจ้าง หากวิศวกรดำเนินงานผิดพลาด ขาดความระมัดระวัง ผิด เงื่อนไขข้อตกลงเกี่ยวกับการว่าจ้างจนก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของโครงการ วิศวกรก็ ต้องรับผิดตามสัญญาว่าจ้างในฐานะที่เป็นคู่สัญญาโดยตรงตามหลักนิติสัมพันธ์และสัญญากับ การผิดสัญญา หากวิศวกรทำงานในฐานะที่เป็นลูกจ้างขององค์กร เพื่อดำเนินการก่อสร้างตาม โครงการ ที่องค์กรกำหนดไว้ เช่นองค์กรมีธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง องค์กรได้ทำสัญญารับจ้าง ก่อสร้างอาคารไว้กับบุคคลภายนอกโดยองค์กรกำหนดให้วิศวกรมีหน้าที่ในการควบคุมงานที่ กำลังก่อสร้าง หากวิศวกรประมาทเลินเล่อจนเกิดความเสียหายแก่การก่อสร้างผู้ว่าจ้างก็ ฟ้องร้องให้องค์กรรับผิดตามสัญญา (คณะอนุกรรมการส่งเสริมสาขาวิชาชีพวิศวกรรมที่ไม่ใช่ วิชาชีพวิศวกรรม, 2542) 2.9 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง กฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยมีอยู่ด้วยกันหลายฉบับ ได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3