2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์

54 บทกฎหมายสามารถนำมาปรับใช้ได้แต่ในขณะเดียวกันบางตัวบทกฎหมายไม่มีความชัดเจน ส่งผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น และบางตัวบทกฎหมายไม่ครอบคลุมหรือ นำไปใช้ในแต่ละท้องถิ่นได้ ภานุมาศ แก้วตา (2554) ได้ทำ การศึกษามาตรการแก้ปัญหาผู้ทิ้งงานในโครงการ ก่อสร้างภาครัฐ :กรณีศึกษา มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 17 มิถุนายน 2551 ปัญหาผู้ทิ้งงานใน โครงการก่อสร้างภาครัฐ ก่อให้เกิดความเสียหายระดับประเทศเป็นอย่างมาก ดังนั้นการวิจัย นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงลักษณะปัญหาของการทิ้งงานของผู้รับเหมาก่อนและ หลัง ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2551 เรื่อง มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพ งานก่อสร้างและผู้ประกอบอาชีพอื่น (2) วิเคราะห์ผลที่ได้รับและปัญหาของการนำมติ คณะรัฐมนตรี มาใช้ และ(3) นำเสนอแนวทางการปรับปรุงมาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้รับเหมา ให้สอดคล้องกับลักษณะปัญหาของการทิ้งงานและปัญหาของการนำมติคณะรัฐมนตรี ดังกล่าวมาใช้ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ หน่วยงานของรัฐและผู้รับเหมาจำนวน 340 ราย การเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือสถิติเชิงพรรณนา แล้วนำมา ประมวลผลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากการศึกษาพบว่าจำนวนผู้รับเหมาทิ้งงานก่อน มาตรการฯมีจำนวน 121 รายและจำนวนผู้รับเหมาทิ้งงานหลังมาตรการฯมีจำนวน 72ราย โดยลักษณะปัญหาการทิ้งงานที่พบมากที่สุดทั้งก่อนและหลังมาตรการฯ ได้แก่ 1) วิธีการจัด จ้างคือการสอบราคา 2) มูลค่าโครงการคือน้อยกว่า 2 ล้านบาท 3)ทุนจดทะเบียนบริษัทน้อย กว่า 2 ล้านบาท 4) ประสบการณ์ทำงาน 5-10 ปี 5) ลักษณะงานคืองานอาคาร 6) หน่วยงานผู้ว่าจ้างคือกระทรวงมหาดไทย โดยหน่วยงานภาครัฐและผู้รับเหมามีความเห็นต่อ มาตรการที่ช่วยแก้ไขปัญหาได้ใกล้เคียงกัน ดังนั้นจากการศึกษาพบว่าผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องควรแก้ไขเพิ่มเติมให้มีขั้นตอนการ ปฏิบัติงานตามมาตรการฯอย่างละเอียดและชัดเจน ควรกำหนดอัตราผลงานที่ผ่านมาเพื่อ ตรวจสอบประวัติการทำงานและกำหนดมาตรการช่วยเหลือทางการเงิน เพื่อป้องกันหรือลด อัตราการทิ้งงาน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3