2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์
58 ส่วนที่ 2 ประเด็นคำถาม ประกอบด้วย 5 คำถาม ดังนี้ ปัจจุบันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ในการออกใบอนุญาตก่อสร้าง บ้านพักอาศัยแก่ประชาชนในเขตพื้นครอบคลุมเกี่ยวกับการก่อสร้างเพียงใด ปัจจุบันมีผู้ร้องเรียน หรือมาขอคำปรึกษาเกี่ยวกับกรณีการทิ้งงานของ ผู้รับเหมาก่อสร้างบ้านพักอาศัยหรือไม่เพียงใด ท่านเห็นด้วยหรือไม่เพียงใด ที่จะให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดให้มีการขึ้น ทะเบียนวิชาชีพผู้รับเหมาก่อสร้างบ้านพักอาศัย ท่านเห็นด้วยหรือไม่หากมีการจัดให้มีการขึ้นทะเบียนวิชาชีพรับเหมาก่อสร้างโดยยื่น เอกสารให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องเพื่อนำส่งให้กรมส่งเสริมปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ อนุญาตและจดทะเบียนวิชาชีพให้กับผู้รับเหมาก่อสร้างบ้านพักอาศัย หากผู้ว่าจ้างถูกทิ้งงานหรือไม่เป็นไปตามข้อตกลงตามสัญญาจ้างจากผู้รับเหมามีวิธี ตั้งรับหรือจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไร ส่วนที่ 3 ปัญหาอื่นและข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะหรือข้อแนะนําอื่นๆของผู้ให้สัมภาษณ์ที่คิดว่าเป็นประโยชน์การ ก่อสร้างบ้านเพื่อลดหรือแก้ไขปัญหาผลกระทบที่เกิดจากการก่อสร้างบ้านหรืออาคาร 3.3 เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพของแบบสัมภาษณ์โดยหาค่าความเที่ยงตรงในเนื้อหา (Content Validity) ดำเนินการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นผู้ตรวจสอบความเหมาะสมของแบบ สัมภาษณ์ทั้งทางด้านภาษา และเนื้อหาสาระ โดยพิจารณาให้ครอบคลุมเนื้อหาและ วัตถุประสงค์ของการวิจัยที่กำหนดไว้ (พรเพ็ญ เพชรสุขสิริ, 2540) และนำมาวิเคราะห์โดยใช้ ค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of congruence: IOC) เพื่อพิจารณาคุณภาพของข้อคำถาม ซึ่งกำหนดให้ข้อคำถามที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) มีค่าระหว่าง 0.6 ถึง 1.00 ซึ่ง หมายถึงข้อคำถามจากแบบสอบถามในการศึกษาครั้งนี้มีคุณภาพที่เหมาะสม มีความถูกต้อง ด้านโครงสร้างเนื้อหา ภาษา และสามารถวัดในสิ่งที่จะวัดได้สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของ การวิจัย เมื่อได้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างที่มีความเชื่อมั่นแล้ว นำแบบสัมภาษณ์แบบมี โครงสร้างไปเก็บข้อมูลเพื่อดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสัมภาษณ์ แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview)ไปทำการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายด้วยตนเองและ เก็บรวบรวมข้อมูลตามประเด็นข้อคำถามที่กำหนดไว้ในแบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างต่อไป
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3