2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์

60 บทที่ 4 ผลการวิจัย มาตรการทางกฎหมายควบคุมขึ้นทะเบียนเพื่อการอยู่อาศัย มีวัตถุประสงค์ของ การศึกษา 1) เพื่อศึกษาปัญหาการจัดทำทะเบียนประวัติฐานข้อมูลของผู้รับเหมาก่อสร้างเพื่อ การอยู่อาศัยโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และปัญหาการขึ้นทะเบียนใบอนุญาต ผู้รับเหมาก่อสร้างเพื่อการอยู่อาศัยโดยสภาวิศวกร 2) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักการ เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนของผู้รับเหมาก่อสร้างเพื่อการอยู่อาศัยของผู้รับเหมาก่อสร้าง ประเภทบุคคลธรรมดา 3) เพื่อศึกษากฎหมายไทยเกี่ยวกับมาตรการควบคุมการขึ้นทะเบียน ของผู้รับเหมาก่อสร้างของผู้รับเหมาก่อสร้างประเภทบุคคลธรรมดา 4) เพื่อเสนอแนะ มาตรการทางกฎหมายในการขึ้นทะเบียนผู้รับเหมาก่อสร้างเพื่อการอยู่อาศัย การจัดทำ ทะเบียนประวัติฐานข้อมูลของผู้รับเหมาก่อสร้างเพื่อการอยู่อาศัยโดยองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นและการขึ้นทะเบียนใบอนุญาตผู้รับเหมาก่อสร้างเพื่อการอยู่อาศัยโดยสภาวิศวกร ผล ที่ได้จากการศึกษาจากเอกสาร (Documentary Research) บทบัญญัติของกฎหมาย พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 พระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ.2542 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประกาศ คณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการรับจ้างก่อสร้างอาคารเพื่อการอยู่อาศัยเป็น ธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2559 เอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องในลักษณะของการทบทวน วรรณกรรมที่เป็นแนวความคิด ทฤษฎี และหลักการ รวมทั้ง รายงานวิจัย ตำราและบทความ ทั้งของไทย และจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการ ศึกษาเก็บและรวบรวมข้อมูลในบทที่ 2 และระเบียบวิธีการวิจัยบทที่ 3 นำข้อมูลที่ได้มาสู่การ วิเคราะห์เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวต่อไปนี้ 4.1 มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับ การจัดทำทะเบียนประวัติฐานข้อมูลของ ผู้รับเหมาก่อสร้าง การก่อสร้างบ้านเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ขั้นตอนแรกจะมีบ้านที่มีคุณภาพได้เริ่มจาก การคัดเลือกผู้รับจ้างก่อสร้าง เจ้าของบ้านในฐานะผู้ว่าจ้างจะต้องคัดเลือกผู้รับจ้างเพื่อทำการ ก่อสร้าง ซึ่งผู้รับจ้างก่อสร้างมี 2 รูปแบบ รูปแบบแรกผู้รับเหมาก่อสร้างที่ดำเนินการใน รูปแบบของนิติบุคคลมีภาพลักษณ์เป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้างชัดเจน บริษัทที่รับสร้างบ้าน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3