2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์
62 ว่าจ้างและผู้รับจ้างอาจไม่ สามารถตกลงในรายละเอียดงานเพื่อทำต่อให้จบได้จนทำให้ต้องมี การยกเลิกสัญญา กรณีนี้ไม่ถือเป็นการทิ้งงานแต่อย่างใดเพราะมีการตกลงกันลงตัวไม่ว่าจะ เป็นเรื่องปริมาณงานหรือการคืนเงินหรืออื่นๆ จนได้เป็นข้อสรุปและแยกย้ายยกเลิกสัญญากัน ไปกรณีนี้อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ผู้ว่าจ้างไม่ทำความเข้าใจในแบบหรือสัญญาอย่างละเอียดจนอาจ มีค่างานเพิ่มเติม ผู้รับจ้างทำงานล่าช้าจนต้องมีการยกเลิกสัญญา ผู้รับจ้างทำงานคุณภาพต่ำ จนต้องอาจยกเลิกสัญญา ผู้ว่าจ้างให้ทำงานเพิ่มเติมที่ไม่มีในใบราคาและไม่จ่ายค่างานเพิ่มให้ ผู้รับจ้าง หรืออื่นๆอีกมากที่ไม่สามารถตกลงกันได้ จนเป็นเหตุให้ทำงานไม่จบสิ่งที่ผู้ว่าจ้างจะ แก้ปัญหาในกรณีที่1นี้ไม่ให้เกิดขึ้นคือผู้ว่าจ้างจะต้องอ่านสัญญาให้ละเอียดพร้อมกับทำความ เข้าใจในใบเสนอราคา รวมถึงคุยกับผู้รับจ้างให้เข้าใจอย่างละเอียดไม่ควรรีบจนลืมตรวจสอบ ในเรื่องของสัญญาและใบเสนอราคาและตรวจสอบผู้รับจ้างว่าทำงานดีหรือไม่จากงานที่ไซต์ อื่นที่ผู้รับจ้างได้ทำก็จะสามารถบอกถึงคุณภาพงานที่ผู้รับจ้างทำได้รวมถึงจำนวนคนงานที่ผู้ รับจ้างได้นำมาลงงานก็จะรู้ว่าลงงานกี่คนจะทำให้งานเสร็จตรงตามกำหนดได้หรือไม่รวมถึงผู้ รับจ้างมีที่อยู่ที่แน่นอนที่สามารถติดตามงานได้ เมื่อผู้ว่าจ้างตรวจสอบอย่างละเอียดตาม ข้างต้นแล้วปัญหาในกรณีที่1นี้จะไม่มีทางเกิดขึ้นได้เลย ผู้รับเหมาทิ้งงาน ในอีกกรณีนี้คือผู้รับเหมารับเงินงวดหรือทำการเบิกเงินแล้วหนีหาย ไม่มาทำงานให้ติดต่อไม่ได้โดยเมื่อได้งานมาแล้วจะทำการเบิกเงินผู้ว่าจ้างมาแล้วเข้าทำงาน เพียงไม่กี่วัน หรือทำไปซักพักก็หาเรื่องเบิกใหม่ อาจเบิกเรื่อยๆเกินงานหรือเลวร้ายสุดคือเบิก เงินงวดแรกแล้วไม่มาทำงานเลยจากนั้นก็หนีหายไปติดต่อไม่ได้ ส่วนใหญ่พวกนี้จะเป็น ผู้รับเหมารายย่อยที่ไม่คำนึงถึงอนาคตตัวเอง แต่จะไม่เกิดขึ้นกับผู้รับเหมารูปแบบบริษัท กรณีนี้ผู้ว่าจ้างต้องเช็คประวัติให้ดีรวมถึงศึกษาพฤติกรรมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นหรือถล่ำลึก เข้าเนื้อไปมากกว่าที่ควรเป็น หากต้องการใช้บริการผู้รับเหมารายย่อยเนื่องจากคำนึงถึงราคา ที่ถูกกว่าก็ควรป้องกันโดยตรวจสอบประวัติการทำงานของผู้รับเหมาให้ดี หากกรณีที่ผิด สัญญานำไปฟ้องร้องคดีแพ่งนั้น เหมาะที่จะฟ้องกับคนที่มีทรัพย์สินเท่านั้นเพราะเมื่อศาลสั่ง ลงมาแล้วและจำเลยไม่จ่ายให้โจทก์ โจทก์ก็สามารถไปอายัดทรัพย์สินของจำเลยเพื่อบังคับ ขายทอดตลาดได้และโจทก์ก็จะได้เงินคืนจากทรัพย์สินจำเลยที่ขายทอดตลาดจากกรมบังคับ คดีได้ กลับกันคดีแพ่งไม่เหมาะที่จะฟ้องกับคนที่ไม่มีทรัพย์สินอะไรเลย เพราะนอกจากผู้ ว่าจ้างจะเสียค่าทนายแล้วเมื่อศาลสั่งลง แล้วจำเลยไม่จ่าย ผู้ว่าจ้างก็ไม่สามารถไปทำอะไรกับ จำเลยได้เพราะไม่มีทรัพย์สินให้ยึดขายทอดตลาดเลย และจำเลยก็ไม่ติดคุกด้วยเพราะไม่ไช่ คดีอาญาทำได้แค่ฟ้องล้มละลายแต่ต้องมีมูลหนี้มากกว่า1ล้านบาทถึงจะฟ้องได้ ซึ่งผู้รับเหมา พวกนี้ก็คงมีหนี้ไม่ถึง1ล้านบาท เพราะเป็นงานใหญ่เกินตัวที่ผู้รับเหมารายย่อยจะสามารถรับ งานจากได้ ส่วนใหญ่จะเป็นรูปแบบบริษัทที่รับงานมูลค่าสูงเท่านี้มากกว่าเพราะมีความ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3