2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์

65 เสียหายผู้ว่าจ้างสามารถแจ้งผลการดำเนินงานให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทราบ หาก กระทำผิดครั้งแรกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องออกหนังสือแจ้งเตือนให้แก่ผู้รับเหมาทราบ โดยกำหนดระยะเวลาหากไม่เข้าดำเนินการภายใน15วัน ออกหนังสือแจ้งเตือนครั้งที่2หาก ผู้รับเหมาเพิกเฉย ให้ถือว่าผู้รับเหมาผู้นั้นเป็นบุคคลทิ้งงานและดำเนินการลงบันทึกประวัติ การทำงานว่าเป็นบุคคลทิ้งงาน การจัดให้มีการตรวจสอบประวัติการทำงานของผู้รับเหมาก่อสร้างนั้น เพื่อใช้เป็น แนวทางประกอบการตัดสินใจแก่ผู้ว่าจ้างโดยนำทฤษฎีการตัดสินใจของกริฟฟิทส์ (Griffiths, 1959) ไซมอน (Simon, 1960)และ(สุเมธ เดียวอิศเรศ (2525) ในเรื่องของความคิดและการ กระทําต่างๆ ที่นําไปสู่การตกลงตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่งจากทางเลือกหลายทาง อันถือ เป็นปัจจัยสําคัญที่มีผลต่อความสําเร็จ ซึ่งขั้นสุดท้ายของกระบวนการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล เพื่อเลือกแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสมกับสถานการณ์ในการจ้างผู้รับเหมาก่อสร้าง เพื่อการอยู่อาศัย และวัตถุประสงค์ตามที่ผู้ว่าจ้างต้องการและตัดสินใจในการเลือก ผู้รับเหมาก่อสร้าง ดังนั้น ประวัติของผู้รับเหมาก่อสร้างถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญของการ สร้างเพื่อการอยู่อาศัยซึ่งเป็นการยากที่ผู้ว่าจ้า งจะทราบถึงประวัติการทิ้งงานของ ผู้รับเหมาก่อสร้าง หากเปรียบเทียบกับการรับเหมากับหน่วยงานราชการจะมีประวัติขึ้น ทะเบียนไว้ที่กรมบัญชีกลางเพื่อใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจของผู้ว่าจ้าง เมื่อเอกชนทำ สัญญากับเอกชนตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก็ตามเมื่อผู้ว่าจ้างเป็นผู้บริโภครัฐจำเป็นต้อง เข้าแทรกแซงเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคเนื่องจากการก่อสร้างที่ผิดสัญญารับเหมาก่อสร้าง ที่อยู่ อาศัยหรือการต่อเติมบ้านของผู้ว่าจ้างกับผู้รับเหมาก่อสร้าง ที่มีสาเหตุจากการละทิ้งงาน ก่อสร้าง เกิดการล่าช้า รายละเอียดไม่เป็นตามที่ตกลงกันและ การเบิกเงินก่อนระยะเวลาการ จ้างที่ผลงานไม่ได้ตามสัดส่วน สุดท้ายเกิดเป็นคดีฟ้องร้อง ส่งผลกระทบต่อผู้เป็นเจ้าของบ้าน แม้จะมีประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการรับจ้างก่อสร้างอาคารเพื่อที่ อยู่อาศัยเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ.2559 เกี่ยวกับให้รับเหมาก่อสร้างเป็นธุรกิจควบคุม สัญญาเพื่อคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคก็ตาม เป็นเพียงการผิดสัญญา กำหนดให้ผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอก เลิกสัญญาเรียกเงินที่ชำระไปแล้ว และเรียกค่าปรับได้ ก็เป็นเพียงปลายเหตุเท่านั้น เนื่องจาก ผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิรู้เลยว่าประวัติหรือผู้ที่เข้ามารับเหมาก่อสร้าง มีสถานะอย่างไร ในการเป็น ทางเลือกเพื่อตัดสินใจจ้างผู้รับเหมาก่อสร้าง โดยเฉพาะผู้รับเหมาที่เป็นบุคคลธรรมดา แม้จะ มีศักยภาพในการสร้างบ้านที่อยู่อาศัยโดยเป็นผู้มีประสบการณ์และชำนาญการสร้างบ้านก็ ตาม แต่ก็เป็นการยากที่จะตรวจสอบประวัติของผู้รับเหมาได้ หากมีประวัติฐานข้อมูล เกี่ยวกับผลงานหรือ ประสบการณ์ของผู้รับเหมาก่อสร้าง ที่ความซื่อตรงต่อการประกอบ อาชีพ ย่อมจะเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้ว่าจ้างในการเลือกผู้รับเหมาก่อสร้าง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3