2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์

68 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพราะอาจถูกตรวจสอบเกี่ยวกับงานผลงานที่ไม่สามารถสามารถ ทำให้สำเร็จลุล่วงตามที่ตกลงไว้กับคู่สัญญา เมื่อศึกษาการจัดทำประวัติฐานข้อมูลของผู้รับเหมาก่อสร้าง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด การฉ้อโกงหรือผิดสัญญากับผู้ว่าจ้างที่เป็นผู้บริโภค จำเป็นต้องหามาตรการควบคุมการ ทำงานของผู้รับเหมาก่อสร้าง โดยกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่เก็บบันทึก ประวัติการทำงานของผู้รับเหมาก่อสร้างที่มาแจ้งประวัติไว้เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคใน การตัดสิน ใจ เลือกผู้รับ เหม าก่อส ร้าง และขณ ะ เดียวกันย่อม เป็นป ระ โยชน์กับ ผู้รับเหมาก่อสร้างอันก่อให้เกิดการจ้างงานสืบเนื่องต่อไป ดังนั้น จึงเห็นควรให้มีการจัดทำ ทะเบียนประวัติผู้รับเหมาก่อสร้างประเภทบุคคลธรรมดาโดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมี หน้าที่ในการจัดทำให้มีผลเป็นการบังคับใช้ตามกฎหมาย ด้วยวิธีแก้ไขและเพิ่มเติม พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 โดยให้เพิ่มเติมข้อความมาตรา 17 “(30) จัดทำทะเบียนประวัติฐานข้อมูล ผู้รับเหมาก่อสร้างประเภทบุคคลธรรมดาโดยให้ผู้รับเหมาก่อสร้างที่อยู่ในเขตพื้นที่แจ้งประวัติ ข้อมูลการทำงานต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ผู้ขออนุญาตก่อสร้างหรือผู้ว่าจ้างใช้ เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการเลือกผู้รับเหมาก่อสร้าง” 4.2 หลักการและเงื่อนไขการขึ้นทะเบียนเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง ผู้รับ เหม าก่อสร้างเพื่ อการอยู่อาศัย เมื่อพิจารณ าถึงความสามารถของ ผู้รับเหมาก่อสร้างพบว่ามีคุณสมบัติ เช่น การก่อสร้างบ้าน ต่อเติม รีโนเวท รวมถึงการ รับเหมาช่วงจากบริษัทรับสร้างบ้าน หมู่บ้านจัดสรร ซึ่งหมู่บ้านที่อยู่อาศัย ณ ปัจจุบันเป็น ผลงานและฝีมือของผู้รับเหมาก่อสร้างเหล่านี้ เพียงแต่บริษัทรับเหมาเป็นแค่ตัวแทนเมื่อได้ งานมาบริษัทจะนำแบบแปลนให้แก่ผู้รับเหมาเพื่อประเมิน เมื่อสร้างเสร็จบริษัทก็จะมีวิศวกร มาตรวจงาน รับงาน หากพิจารณาอย่างถ่องแท้แล้วจะเห็นได้ว่า ผู้รับเหมาก่อสร้างที่ลงมือ ปฏิบัติทำงานจริงๆนั้นมาจากผู้รับเหมาก่อสร้าง เพื่อการอยู่อาศัยไม่ใช่ตัวบริษัท ต่อมา ผู้รับเหมาที่มีเพียงประสบการณ์บางรายมารับสร้างโดยไม่ผ่านบริษัทรับสร้างบ้านด้วย ประสบการณ์ของผู้รับเหมาก่อสร้างสามารถทำได้ เมื่อพิจารณาถึงประสบการณ์ทำงานและความเชี่ยวชาญของผู้รับเหมาก่อสร้าง เห็น ได้ว่าบุคคลเหล่านี้แม้ไม่ได้ผ่านการศึกษาด้านการก่อสร้างในสถานศึกษาเหมือนกับวิศวกรแต่ สามารถสร้างบ้านเพื่อการอยู่อาศัยได้ เพราะอาศัยประสบการณ์ทำงานอย่างยาวนาน 10 ปี หากนำบุคคลเหล่านี้มาขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพรับเหมาก่อสร้างเช่นเดียวกับผู้ที่ ได้รับใบอนุญาตระดับภาคีวิศวกรพิเศษย่อมจะส่งผลต่อการเชื่อมั่นของผู้ว่าจ้าง ขณะเดียวกัน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3