2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์

69 สามารถสร้างรายได้ให้กับผู้รับเหมาก่อสร้างอีกทั้งการประกอบอาชีพรับเหมาก่อสร้างถูก ควบคุมโดยสภาวิศวกร ซึ่งใบอนุญาตการประกอบอาชีพวิศวกรควบคุม มี 4 ประเภท ได้แก่ 1.ภาคีวิศวกร หรือผู้ที่ยังไม่เคยขอรับใบอนุญาต จะได้รับใบอนุญาตระดับภาคีวิศวกรหลังจาก นั้น3ปี หากมีผลงานด้านวิศวกรรม ก็จะสามารถขอเลื่อนใบประกอบวิชาชีพเป็นประเภทที่2 ขอบเขตความสามารถระดับงาน ประเภท ขอบเขตความสามารถขนาดที่ทำได้เป็นไปตาม ข้อบังคับสภาวิศวกร 2.สามัญวิศวกร คือ ระดับสามัญวิศวกรและเมื่อมีประสบการณ์และมี ผลงานเพิ่มขึ้นอีก 5 ปี ก็จะสามารถขอเลื่อนระดับเป็นวุฒิวิศวกรซึ่งเป็นระดับสูงสุดและ ใบอนุญาตประเภทสุดท้าย ขอบเขตความสามารถประเภทงานและขนาดที่ทำได้เป็นไปตาม ข้อบังคับสภาวิศวกร 3.วุฒิวิศวกร ขอบเขตความสามารถ ทำได้ทุกงาน ทุกประเภท และทุก ขนาด 4.ภาคีพิเศษ หรือ วิศวกรพิเศษ เป็นใบอนุญาตวิศวกรพิเศษ สำหรับผู้ที่ไม่ได้เรียนจบ วิศวกรรมศาสตร์แต่เป็นผู้มีความรู้และมีประสบการณ์ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์เป็นอย่างดี ขอบเขตความสามารถ ทำงานได้เฉพาะตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาตฯ เท่านั้น ตาม พระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ.2542 มาตรา11 (2) สมาชิกวิสามัญ ได้กำหนดคุณสมบัติของ สมาชิกประเภทวิสามัญ ให้เป็นผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับวิชาชีพวิศวกรรม โดยผู้ขอรับ ใบอนุญาตระดับภาคีวิศวกรพิเศษ จะต้องมีความรู้และประสบการณ์ตรงกับลักษณะงาน หากเปรียบเทียบกับผู้ที่ได้รับใบอนุญาตระดับภาคีวิศวกรพิเศษ ที่มีคุณสมบัติวุฒิ การศึกษาระดับปริญญาตรี จะต้องมีผลงานในลักษณะที่ยื่นคำขอไม่น้อยกว่า 2 ปี ส่วนผู้ที่มี วุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.)ผู้ยื่นขอจะต้องมีผลงานและประสบการณ์ตรงกับ ลักษณะงานที่ขอไม่น้อยกว่า 4 ปี ส่วนผู้ที่มีวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ผู้ยื่นขอจะต้อง มีผลงานและประสบการณ์ตรงกับลักษณะงานที่ขอ ไม่น้อยกว่า 6 ปี หรือวุฒิต่ำกว่าระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จะต้องมีผลงานและประสบการณ์ตรงกับลักษณะงานที่ขอ ไม่น้อยกว่า 10 ปี หากเปรียบเทียบกับผู้รับเหมาก่อสร้างที่มีประสบการณ์ทำงานและความ เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ทำงานมาไม่น้อยกว่า 10 ปี เห็นได้ว่าทักษะการทำงานก่อสร้าง ของผู้รับเหมาก่อสร้างกับผู้ที่มีวุฒิต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ไม่มีความ แตกต่างกันในประสบการณ์ด้านการรับเหมาก่อสร้างเพื่อการอยู่อาศัย ตามที่สภาวิศวกร กำหนดคุณสมบัติสมาชิกประเภทวิสามัญ สำหรับบุคคลที่ได้รับการศึกษาจากสถานศึกษาที่มี การรับรองประกอบกับผลงานและประสบการณ์ตรง โดยกำหนดประสบการณ์ทำงาน ไม่ น้อยกว่า4 ปี และ ไม่น้อยกว่า 10 ปี ผ่านการสอบเพื่อให้ได้รับใบอนุญาตในระดับภาคีวิศวกร พิเศษแต่อย่างไรก็ตามหากอนุญาตให้ผู้รับเหมาก่อสร้างเพื่อการอยู่อาศัยประเภทบุคคล ธรรมดา ได้รับอนุญาตให้มีการขึ้นทะเบียนเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างเพื่อการอยู่อาศัยใช้เฉพาะ กรณีปลูกสร้าง 1 ชั้น หรืองานต่อเติมรวมถึงรื้อถอนอาคาร ส่วนกรณีบ้าน 2 ชั้นขึ้นไป

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3