2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์

73 ระยะเวลาการทำงานอย่างน้อย 10 ปี และมีประสบการณ์สร้างบ้านอย่างน้อย 5 หลัง จึงจะ เรียกได้ว่าเป็นผู้ที่มีประสบการณ์แล้ว เมื่อพิจารณาพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 กำหนดเรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตก่อสร้าง การต่ออายุใบอนุญาต ก่อสร้าง การโอนใบอนุญาตก่อสร้าง การออกใบรับรอง และการออกใบแทนตามกฎหมายว่า ด้วยการควบคุมอาคารที่ใช้บังคับอยู่ ซึ่งเห็นได้ว่าตามพระราชบัญญัติดังกล่าวควบคุมเพียง เรื่องของสัญญาและการขออนุญาตก่อสร้างเท่านั้น แต่ไม่ได้มีการควบคุมในเรื่องการขึ้น ทะเบียนของการประกอบอาชีพของผู้รับเหมาก่อสร้างเพื่อการอยู่อาศัยแต่อย่างใด เมื่อศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี และผลการสัมภาษณ์ เกี่ยวกับประเด็นการขึ้น ทะเบียนเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง เพื่อขอรับใบอนุญาตระดับภาคีวิศวกรพิเศษดังกล่าวมา ข้างต้นนั้น ผู้วิจัยเห็นว่า จำเป็นต้องกำหนดการขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับใบอนุญาตระดับภาคี วิศวกรพิเศษ (ผู้รับเหมาก่อสร้างเพื่อการอยู่อาศัย) ด้วยเงื่อนไขและคุณสมบัติของผู้ขอรับ ใบอนุญาต ตามพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ.2542 มาตรา11 (2) สมาชิกวิสามัญ ได้กำหนด คุณสมบัติของสมาชิกประเภทวิสามัญ ให้เป็นผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับวิชาชีพวิศวกรรม จะต้องมีความรู้และประสบการณ์ตรงกับลักษณะงาน ซึ่งผู้ที่ได้รับใบอนุญาตระดับภาคี วิศวกรพิเศษถือว่าเป็นสมาชิกวิสามัญด้วย ดังนั้น การจะขอรับใบอนุญาตระดับภาคีวิศวกร พิเศษของผู้รับเหมาก่อสร้างเพื่อการอยู่อาศัยประกอบกับระเบียบคณะกรรมการสภาวิศวกร ว่าด้วยการทดสอบความรู้เพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมระดับ ภาคีวิศวกร พ.ศ.2563 กำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเข้ารับการทดสอบความรู้เพื่อขอรับใบ ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมระดับภาคีวิศวกรที่อนุญาตให้สำหรับ ผู้ที่ผ่านการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ถึงระดับปริญญาตรี แต่ประกาศ ฉบับนี้ยังไม่มีการอนุญาตให้ผู้รับเหมาก่อสร้างสำหรับผู้ที่จบการศึกษาต่ำกว่าระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) แต่อย่างใด ผู้วิจัยจึงเห็นควรกำหนดให้ผู้รับเหมาก่อสร้างขึ้น ทะเบียนเพื่อขอรับใบอนุญาตระดับภาคีวิศวกรพิเศษ (ผู้รับเหมาก่อสร้างเพื่อการอยู่อาศัย) โดยเพิ่มเติมเป็นข้อ 9/1 มีข้อความ ดังนี้ “ผู้รับเหมาก่อสร้างเพื่อการอยู่อาศัยเป็นบุคคลที่มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์ มีสัญชาติไทย ผ่านประสบการณ์ทำงานด้านก่อสร้างอย่างน้อย 10 ปี มีความเชี่ยวชาญและ ประสบการณ์ในด้านการก่อสร้างเพื่อการอยู่อาศัย พร้อมมีหลักฐานแสดงผลงานการก่อสร้าง เพื่อการอยู่อาศัยจำนวน ไม่น้อยกว่า 5 หลัง และ เป็นผู้ที่มีความสามารถอ่านแบบ คำนวณ โครงสร้าง งบประมาณการก่อสร้างได้ การขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับใบอนุญาตระดับภาคีวิศวกร พิเศษ (ผู้รับเหมาก่อสร้างเพื่อการอยู่อาศัย) ให้สอบวัดทักษะความรู้ด้านการก่อสร้างตามที่ สภาวิศวกรกำหนดและต้องเป็นผู้ที่ ไม่เคยรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้น

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3