2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์
76 อำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 ยังไม่ครอบคลุมในเรื่องการจัดทำ ทะเบียนประวัติฐานข้อมูลของผู้รับเหมาก่อสร้างและพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ.2542 ประกอบกับ ระเบียบคณะกรรมการสภาวิศวกรยังไม่ครอบคลุมถึงการขึ้นทะเบียนเป็น ผู้รับเหมาก่อสร้าง ผู้วิจัยได้ศึกษาและวิเคราะห์โดยวิเคราะห์มาตรการทางกฎหมายการขึ้น ทะเบียนของผู้รับเหมาก่อสร้างเพื่อการอยู่อาศัยได้ 2 ประเด็น ดังนี้ 5.2.1 มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดทำทะเบียนประวัติฐานข้อมูลของ ผู้รับเหมาก่อสร้าง จากการวิเคราะห์เอกสารและผลสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับการจัดทำทะเบียนประวัติ ฐานข้อมูลของผู้รับเหมาก่อสร้างเพื่อการอยู่อาศัย ผู้วิจัยพบว่าไม่มีกฎหมายเกี่ยวข้องกับการ จัดทำประวัติฐานข้อมูลของผู้รับเหมาก่อสร้าง มีเพียง พระราชบัญญัติกำหนดแผนและ ขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 แต่มิได้ครอบคลุมถึง การจัดทำทะเบียนประวัติฐานข้อมูลของผู้รับเหมาก่อสร้าง การจัดให้มีการจัดทำทะเบียน ประวัติผู้รับเหมาก่อสร้างทำให้ผู้ขออนุญาตสามารถทราบประวัติผลงานของผู้รับเหมาแต่ละ รายได้ เนื่องจากปัจจุบันมีการทิ้งงานเกิดขึ้น เมื่อไปขออนุญาตก่อสร้างบ้าน ทำได้เพียง สอบถามหรือขอคำแนะนำจากผู้ที่เคยว่าจ้างเท่านั้นซึ่งอาจจะไม่เคยมีประวัติเสียหายจากผู้ ว่าจ้างรายอื่นแต่ไม่สามารถการันตีได้ว่าจะไม่ทิ้งงานของเราเช่นเดียวกับบุคคลอื่นที่ผ่านมา การจัดทำทะเบียนประวัติฐานข้อมูลของผู้รับก่อสร้าง ผู้ให้สัมภาษณ์ กลุ่มหน่วยงาน ภาครัฐ นายช่างโยธาชำนาญงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้างจด ทะเบียนเป็นนิติบุคคล มีความคิดเห็นในแนวทางเดียวกัน เห็นด้วยที่จะให้องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นเป็นผู้จัดทำทะเบียนประวัติ เพราะว่ามีอำนาจในการออกใบอนุญาตและการ ดำเนินขออนุญาตก่อสร้าง เช่น บ้านเพื่อการอยู่อาศัย โรงงาน อาคารพาณิชย์ อาคารต่างๆ หากมีประวัติของผู้รับเหมาก่อสร้างจะเป็นฐานข้อมูลให้กับผู้ว่าจ้างหรือเจ้าของบ้านในการ เลือกผู้รับเหมาก่อสร้าง สำหรับการร้องเรียนหรือชาวบ้านมาขอคำปรึกษาค่อนข้างน้อย เพราะเห็นว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มิได้เข้ามาแก้ไขปัญหาเมื่อมีการทิ้งงานของ ผู้รับเหมาก่อสร้าง ส่วนใหญ่แล้วเห็นว่า เจ้าของบ้านหาผู้รับเหมาก่อสร้างเป็นคนในพื้นที่ เดียวกันและได้รับการแนะนำต่อๆกันมา จึงเป็นเรื่องระหว่างคู่สัญญาด้วยกันเอง เห็นควร แก้ไขและเพิ่มเติม พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 5.2.2 หลักการและเงื่อนไขการขึ้นทะเบียนเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง จากการวิเคราะห์เอกสารและผลสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนเป็น ผู้รับเหมาก่อสร้าง ผู้วิจัยพบว่าไม่มีกฎหมายกำหนดไว้ในเรื่องของการขึ้นทะเบียนเป็น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3