2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์

77 ผู้รับเหมาก่อสร้างเพื่อการอยู่อาศัยไว้โดยเฉพาะมีเพียงพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ.2542 ประกอบกับระเบียบคณะกรรมการสภาวิศวกร ว่าด้วยการทดสอบความรู้เพื่อขอรับ ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมระดับภาคีวิศวกร พ.ศ.2563 มิได้ ครอบคลุมถึงการขึ้นทะเบียนของผู้รับเหมาก่อสร้างเพื่อการอยู่อาศัย หากจัดให้มีการขึ้น ทะเบียนผู้ที่ได้รับใบอนุญาตระดับภาคีวิศวกรพิเศษย่อมจะส่งผลต่อการเชื่อมั่นของผู้ว่าจ้าง ขณะเดียวกันสามารถสร้างรายได้ให้กับผู้รับเหมาก่อสร้างอีกทั้งการประกอบอาชีพรับเหมา ก่อสร้างถูกควบคุมโดยสภาวิศวกร ตามพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ.2542 มาตรา11 (2) สมาชิกวิสามัญ ได้กำหนดคุณสมบัติของสมาชิกประเภทวิสามัญ ให้เป็นผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวข้อง กับวิชาชีพวิศวกรรม โดยผู้ขอรับใบอนุญาตระดับภาคีวิศวกรพิเศษ จะต้องมีความรู้และ ประสบการณ์ตรงกับลักษณะงาน จากการสัมภาษณ์ กลุ่มหน่วยงานภาครัฐ นายช่างโยธาชำนาญงานองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น และกลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้างจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ประเด็นการขึ้นทะเบียน เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างของผู้รับก่อสร้าง มีความคิดเห็นในแนวทางเดียวกัน ดังนี้ เรื่องการจัดให้ขึ้นทะเบียนวิชาชีพผู้รับเหมาก่อสร้างบ้านพักอาศัย ทุกกลุ่มมีความ คิดเห็นที่เหมือนกันว่าเป็นสิ่งที่ดี เพราะจะได้ควบคุมผู้รับเหมาก่อสร้างมิให้เอาเปรียบ ผู้บริโภค เนื่องจากชาวบ้านหรือผู้ว่าจ้างส่วนใหญ่ที่เป็นบุคคล นิยมให้ช่างที่ไม่มีการขึ้น ทะเบียนเป็นผู้สร้างบ้านพักอาศัย หรือก่อสร้างต่อเติมสิ่งต่างๆให้ หากนำผู้รับเหมาก่อสร้างไป ขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตจากสภาวิศวกรย่อมเป็นผลดีกับผู้รับเหมาและผู้ว่าจ้าง และมี ข้อเสนอแนะว่า ไม่ควรมีการจัดเก็บภาษีเพราะจะไม่ใครขึ้นทะเบียนเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างแต่ มีค่าบริการธรรมเนียมรายปีสำหรับผู้รับเหมาก่อสร้างแทนการจัดเก็บภาษีเช่นนี้แล้วเป็นการ ยากที่จะนำผู้รับเหมาก่อสร้างมาขึ้นทะเบียนกับสภาวิศวกร หากมีการขึ้นทะเบียนในอนาคต การันตรีได้ว่า ผู้รับเหมาก่อสร้างต้องอยู่ภายใต้การดูแลตรวจสอบของวิศวกรผู้ควบคุมงาน ก่อสร้างว่าผู้รับเหมาได้ทำถูกต้องตามแบบที่กำหนดไว้หรือไม่อีกชั้นหนึ่ง ในเรื่องความ เชี่ยวชาญและประสบการณ์การก่อสร้างเพื่อการอยู่อาศัย ผู้รับเหมาก่อสร้างจดทะเบียนเป็น นิติบุคคลและ ผู้รับเหมาก่อสร้างของผู้รับก่อสร้าง มีความคิดเห็นในทิศทางเดียวกันโดย เสนอแนะว่าผู้ที่จะไปขอรับใบอนุญาตได้นั้นควรจะต้องมีระยะเวลาการทำงานอย่างน้อย10 ปี และมีประสบการณ์สร้างบ้านอย่างน้อย 5 หลัง จึงจะเรียกได้ว่าเป็นผู้ที่มีประสบการณ์แล้ว เมื่อพิจารณาพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 กำหนดเรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไขในการขออนุญาตก่อสร้าง การต่ออายุใบอนุญาตก่อสร้าง การโอนใบอนุญาตก่อสร้าง การออกใบรับรอง และการออกใบแทนตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารที่ใช้บังคับอยู่ ซึ่งเห็นได้ว่าตามพระราชบัญญัติดังกล่าวควบคุมเพียงเรื่องของสัญญาและการขออนุญาต

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3