2566-3 -สรวิชญ์ ตะเอ -วิทยานิพนธ์

78 ก่อสร้างเท่านั้น แต่ไม่ได้มีการควบคุมในเรื่องการขึ้นทะเบียนของการประกอบอาชีพของ ผู้รับเหมาก่อสร้างเพื่อการอยู่อาศัยแต่อย่างใด เห็นควรแก้ไขและเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ วิศวกร พ.ศ.2542 ประกอบกับระเบียบคณะกรรมการสภาวิศวกร 5.3 ข้อเสนอแนะ จากการศึกษาเรื่อง มาตรการทางกฎหมายในการขึ้นทะเบียนของผู้รับเหมาก่อสร้าง เพื่อการอยู่อาศัย ประเด็นจัดทำทะเบียนประวัติฐานข้อมูลของผู้รับเหมาก่อสร้าง และ ป ระ เด็นก ารขึ้นท ะ เบี ยน เป็นผู้ รับ เหม าก่อส ร้าง เพื่ อป ระ โยชน์ ในก ารค วบคุม ผู้รับเหมาก่อสร้างประเภทบุคคลธรรมดา และคุ้มครองผู้บริโภครวมถึงลดการฟ้องร้อง ดำเนินคดีในศาล ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ แก้ไขและเพิ่มเติมพระราชบัญญัติกำหนดแผนและ ขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 และพระราชบัญญัติ วิศวกร พ.ศ.2542 ดังนี้ 1.แก้ไขและเพิ่มเติม พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 จากเดิม มาตรา 17 ภายใต้บังคับมาตรา 16 ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอํานาจ และหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ดังนี้ การจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเองและประสานการจัดทําแผนพัฒนาจังหวัดตาม ระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ถึง (28) (29) กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการ ประกาศกำหนด โดยให้เพิ่มเติมข้อความ มาตรา 17 “(30) จัดทำทะเบียนประวัติฐานข้อมูล ผู้รับเหมาก่อสร้างประเภทบุคคลธรรมดาโดยให้ผู้รับเหมาก่อสร้างที่อยู่ในเขตพื้นที่แจ้งประวัติ ข้อมูลการทำงานต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ผู้ขออนุญาตก่อสร้างหรือผู้ว่าจ้างใช้ เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการเลือกผู้รับเหมาก่อสร้าง” 2.แก้ไขและเพิ่มเติม ระเบียบคณะกรรมการสภาวิศวกร ว่าด้วยการทดสอบความรู้ เพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมระดับภาคีวิศวกร พ.ศ.2563 ดังนี้ โดยให้เพิ่มเติมข้อความใน ข้อ 9/1 มีข้อความดังต่อไปนี้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3