2566-3-ปวริศา เอียดทิม-วิทยานิพนธ์

88 บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 5.1 สรุปผล การวิจัยกำหนดวัตถุประสงค์ในการศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องขังที่ ป่วยทางจิตเวชระหว่างการคุมขังในเรือนจำ และแนวคิด ทฤษฎี หลักการกฎหมายเกี่ยวกับการคัด กรองผู้ต้องขังที่ป่วยทางจิตเวช ตั้งแต่กระบวนการรับตัวผู้ต้องขังเข้าใหม่ กระบวนการก่อนปล่อยตัว ผู้ต้องขัง ตลอดจนกระบวนการยุติธรรมสำหรับผู้ต้องขังที่ป่วยทางจิตเวชในระหว่างการคุมขังใน เรือนจำ เพื่อปรับปรุงแก้ไขหรือเพิ่มเติมมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องขังที่ป่วย ทางจิตเวชระหว่างการคุมขังในเรือนจำ จากการศึกษามาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องขังที่ป่วยทางจิตเวชระหว่าง การคุมขังในเรือนจำ พบว่า ในปัจจุบันการขั้นตอนการคัดกรองรับตัวผู้ต้องขังเข้าใหม่ในเรือนจำ/ทัณฑ สถาน และขั้นตอนก่อนการปล่อยตัวผู้ต้องขังพ้นโทษ มีการเพิ่มเติมให้ผู้ต้องขังทุกรายได้ตอบแบบ ประเมิณทางด้านสภาวะสุขภาพจิตแล้ว อีกทั้งในระหว่างที่ถูกควบคุมขังนั้นทางเรือนจำ/ทัณฑสถาน ได้มีการให้บริการและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิตแก่ผู้ต้องขังด้วย แต่อย่างไรก็ดีผู้วิจัยมี ความเห็นว่า แม้ทางกรมราชทัณฑ์ได้มีแนวทางการปฏิบัติตั้งแต่การคัดกรองผู้ต้องขังที่มี่อาการป่วยจิต เวช ตั้งแต่การรับตัวผู้ต้องขังเข้าใหม่ จนกระทั่งปล่อยตัวผู้ต้องขังแล้วก็ตาม แต่กระบวนการและ ขั้นตอนดังกล่าวยังไม่มีกฎหมายที่ใช้บังคังและให้อำนาจเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ไว้อย่างชัดเจน จึงอาจมีผลกระทบต่อการทำงานในอนาคตได้ 5.2 อภิปรายผล 5.2.1 ประเด็นปัญหาการคัดกรองรับตัวผู้ต้องขังเข้าใหม่ จากผลการศึกษามาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องขังที่ป่วยทางจิตเวช ระหว่างการคุมขังในเรือนจำ พบว่า การคัดกรองผู้ต้องขังเข้าใหม่หรือรับย้ายทุกวันในเรือนจำ/ทัณฑ สถานนั้น เริ่มตั้งแต่ให้เจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพจิตทำการตรวจประเมิณสุขภาพจิตผู้ต้องขังด้วยแบบ ประเมิณในช่วงรับตัวผู้ต้องขัง หากไม่สามารถทำได้ทันทีให้ดำเนินการภายใน 1 เดือน หลังจากรับตัว โดยแบบประเมิณดังกล่าวมีดังนี้ แบบประเมินภาวะสุขภาพจิตสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำไทย (Prisoner Mental Health Questionnaire : PMHQ Thai) แบบคัดกรอง/ประเมิณโรคซึมเศร้า และ แบบประเมิณการฆ่าตัวตาย (2Q 9Q 8Q) แบบคัดกรองโรคจิต แบบคัดกรองและส่งต่อผู้ป่วยที่ใช้ยาอ ละสารเสพติดเพื่อรับการบำบัดรักษา กระทรวงสาธารณะสุข (บคก.กสธ.) (V.2) แบบประเมินความ รุนแรงอาการถอนพิษสุราด้วยเครื่องมือ AWS และจะต้องเก็บผลการประเมินไว้ใน รท.101 ของ ผู้ต้องขังแต่ละราย รวมทั้งบันทึกข้อมูลในระบบข้อมูลผู้ต้องขัง กลุ่มผู้ต้องขังที่ต้องทำการตรวจ ประเมินสุขภาพจิต ประกอบด้วย ผู้ต้องขังเข้าใหม่ทุกราย ผู้ต้องขังที่สงสัยว่าอาจมีปัญหาสุขภาพจิต

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3