2566-3-ปวริศา เอียดทิม-วิทยานิพนธ์

89 หรือพบภาวะอันตรายทั้งตัวผู้ต้องขังทั่วไป และผู้ต้องขังป่วยคดี ผู้ต้องขังเหลือโทษ 6 เดือนก่อนพ้น โทษ ผู้ต้องขังส่งคำร้องใส่กล่องหรือตู้ขอรับคำปรึกษา ผู้ต้องขังหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอดบุตร และ ผู้ต้องขังที่ถูกทารุณกรรมทั้งร่างกายและจิตใจ เมื่อพบว่าผู้ต้องขังมีปัญหาสุขภาพจิตจากการคัดกรอง ภาวะสุขภาพจิต ให้รับตัวผู้ต้องขังที่มีปัญหาสุขภาพจิตรายนั้นมาทำแบบประเมิณเพิ่มเติมในส่วนที่ เกี่ยวข้อง เช่น แบบประเมินภาวะซึมเศร้า แบบประเมินความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย และแบบประเมิน ความเครียด เป็นต้น และให้บริการปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช รวมทั้งการผ่อนคลาย ความเครียด และให้มีการบันทึกข้อมูลการปรึกษาลงในแบบบันทึกการให้บริการปรึกษาด้าน สุขภาพจิต (แบบ สจ.4) ซึ่งจะต้องจัดเก็บแบบบันทึกการให้บริการปรึกษาด้านสุขภาพจิต รวบรวมไว้ ใน ณ คลินิกคลายเครียด เพื่อการตรวจสอบและเป็นข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ต้องขังในการให้ความ ช่วยเหลือด้านสุขภาพจิต อีกทั้งต้องจัดให้มีการดำเนินการติดตามเครือข่ายผู้ต้องขังช่วยเหลืองานด้าน สุขภาพจิตและจิตเวชอย่างสม่ำเสมอ ให้ดำเนินการจัดอบรม การส่งเสริมสุขภาพจิตผู้ต้องขังอย่าง ต่อเนื่อง ตลอดจนให้เจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพจิตในเรือนจำหรือทัณฑสถาน ดำเนินการจัดทำสมุดบันทึก รายงานกลุ่มผู้ต้องขังที่มมีพฤติกรรมทำร้ายร่างกายตนเอง หรือพยายามฆ่าตัวตาย เพื่อดำเนินการให้ ความช่วยเหลือและเฝ้าระวังภาวะวิกฤติด้านสุขภาพจิตอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งจัดทำสมุดบันทึกราย งายประจำวันการให้บริการคลินิกคลายเครียดเพื่อนำเสนอให้แก่ผู้บัญชาการเรือนจำ หรือผู้อำนวยการ ทัณฑสถานทราบต่อไป อย่างไรก็ดีในกรณีผู้ต้องขังเข้าใหม่มีประวัติการรักษาจิตเวชแต่ไม่ได้นำยาติดตัวเข้ามาและ รักษาโรงพยาบาลอื่น หรือในบางรายไม่สามารถติดต่อญาติได้ทำให้ไม่สามารถทราบประวัติการทาน ยา ทางเรือนจำ/ทัณฑสถานจะต้องทำหนังสือขอรับประวัติการรักษาไปยังโรงพยาบาล ซึ่งขั้นตอนใน ส่วนนี้ค่อนข้างจะใช้ระยะเวลาที่นาน ส่งผลให้ผู้ต้องขังเข้าใหม่รายดังกล่าวไม่ได้รับประทานยาใน ช่วงแรกที่เข้ามายังเรือนจำ ถือได้ว่าเป็นผู้ป่วยจิตเวชที่ไม่ได้รับการรักษาตัวอย่างต่อเนื่อง อาจจะส่งผล ต่ออาการป่วยในระยะยาวได้ และในผู้ต้องขังป่วยจิตเวชเข้าใหม่บางรายปฏิเสธการให้ข้อมูลสุขภาพ ด้านการเจ็บป่วยทางจิตเวชในขณะที่ยังไม่ได้รับคำพิพากษาให้จำคุก ทำให้ผลของการคัดกรองด้าน สุขภาพจิตของผู้ต้องขังรายดังกล่าวไม่พบความผิดปกติ ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพจิตไม่ทราบถึง อาการป่วยของผู้ต้องขังรายนั้นในทันที จึงอาจกล่าวได้ว่าขั้นตอนสำหรับการรับตัวผู้ต้องขังป่วยจิตเวช เข้าใหม่ในเรือนจำหรือทัณฑสถานของประเทศไทยในปัจจุบันนี้ยังมีช่องโหว่งและข้อบกพร่องที่ยังต้อง ได้รับการแก้ไขต่อไป 5.2.2 ประเด็นปัญหากระบวนการยุติธรรมสำหรับผู้ต้องขังที่ป่วยทางจิตเวชในระหว่างการ คุมขังในเรือนจำ พบว่า ทางเรือนจำ/ทัณฑสถานมีการให้บริการตรวจรักษาโดยเริ่มจากจัดทีมบุคลากร ให้บริการสุขภาพจิตและจิตเวชสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำ เรียกว่า “ทีมสุขภาพจิต” และจัดทำให้มี กล่องหรือตู้ขอรับการปรึกษาประจำทุกแดน และยังมีการให้บริการของสถานพยาบาลที่มีชื่อว่า “คลินิกคลายเครียด” เพื่อให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวชให้แก่ผู้ต้องขัง รวมทั้งแนะนำวิธีการผ่อนคลายความเครียด เมื่อพบว่าผู้ต้องขังมีปัญหาสุขภาพจิตจากการเปิดกล่อง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3