2566-3-ปวริศา เอียดทิม-วิทยานิพนธ์

90 หรือตู้ขอรับการปรึกษาภายในเรือนจำ/ทัณฑสถาน และจากการทำบันทึกขอความช่วยเหลือจาก เจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมแดน พร้อมทั้งให้มีบันทึกการปรึกษาลงในแบบบันทึกการให้บริการด้านสุขภาพ (แบบ สจ. 4) โดยจัดเก็บแบบบันทึกข้อมูลรวบรวมไว้ใน ณ คลีนิคคลายเครียด เพื่อการตรวจสอบและ เป็นข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ต้องขังในการให้ความช่วยเหลือด้านสุขภาพ กรณีการให้คำปรึกษาไม่ สามารถดำเนินการต่อไปได้เนื่องจากผู้ต้องขังมีปัญหาสุขภาพจิตที่รุนแรงขึ้น มีอาการป่วยของโรคทาง จิตเวชกำเริบ ให้เจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพจิตประสานสถานพยาบาลในการส่งต่อผู้ต้องขังรายดังกล่าวเข้า รับการรักษาบำบัดต่อไปตามที่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมายที่ใช้ในปัจจุบัน หรือหากผู้ต้องขังมีปัญหาด้าน สังคม ความเป็นอยู่ เช่น การประกอบอาชีพ แหล่งงาน การติดต่อญาติ ให้ประสานนักสังคม สงเคราะห์ของเรือนจำ/ทัณฑสถานดำเนินการต่อไป ต่อมาในกรณีที่ผู้ต้องขังมีพฤติกร รมทำร้าย ร่างกายตนเอง มีความคิดจะฆ่าตัวตาย หรือพยายามลงมือฆ่าตัวตาย ให้เจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพจิตใน เรือนจำ/ทัณฑสถาน ดำเนินการจัดทำสมุดบันทึกรายงานพฤติกรรมโดยละเอียดและดำเนินการให้ ความช่วยเหลือ อีกทั้งเฝ้าระวังภาวะวิกฤตสุขภาพจิตอย่างต่อเนื่อง พร้อมบันทึกรายงานป ระจำวัน การเฝ้าระวังเพื่อเสนอให้แก่ผู้บังคับบัญชาทราบต่อไป ทั้งนี้ทางเรือนจำ/ทัณฑสถานจะสรุปรายงาน การดำเนินงานคลินิกคลายเครียด และรายงานผลให้ทางกรมราชทัณฑ์ทราบเป็นประจำทุกๆ 6 เดือน ตามแบบรายงานการดำเนินงานคลินิกคลายเครียดแบบ 6 เดือน (แบบ สจ.5) อีกทั้งทางเรือนจำ/ ทัณฑสถานยังจัดให้มีระบบบริการสุขภาพจิตและจิตเวชช่องทางพิเศษในเรือนจำ/ทัณฑสถานสำหรับ ผู้ต้องขัง เช่น Telepsychiatry ระบบปรึกษาทางโทรศัพท์ กรณีจำเป็นต้องนอนรักษา จะส่งผู้ต้องขัง ป่วยจิตเวชไปรักษาพยาบาลยังโรงพยาบาลจิตเวช หรือโรงพยาบาลศูนย์ หรือโรงพยาบาลทั่วไป ที่อยู่ ในพื้นที่หรือใกล้เคียงตามความเหมาะสม โดยจัดให้มีเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์เฝ้าระวังเพื่อป้องกันการ หลบหนี และจัดทำตารางการให้บริการสุขภาพจิตและจิตเวชผู้ต้องขังในเรือนจำอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้งร่วมกับโรงพยาบาลศูนย์ ซึ่งมีระบบการส่งต่อให้บริการสุขภาพจิตและจิตเวช รวมทั้งมีระบบ บริการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อเตรียมรับผู้ต้องขังป่วยจิตเวช และจัดกิจกรรมส่งเสริมและป้องกัน ปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำ โดยการจัดอบรมให้ความรู้และฝึกปฏิบัติแก่ ผู้ต้องขังกลุ่มดังกล่าว ดำเนินการเผยแพร่และส่งเสริมการดูแลสุขภาพจิตและจิตเวชแก่ผู้ต้องขังด้วย การให้ความรู้สุขภาพจิตจากการแจกเอการแผ่นพับ การจัดบอร์ด การจัดเ สียงตามสาย การพูดตอน เช้าหลังเคารพธงชาติ เป็นต้น และหากเป็นกรณีที่ผู้ต้องขังป่วยจิตเวชมีอาการคลุ้มคลั่ง ควบคุมตนเอง ไม่ได้ ทำร้ายตัวเอง ไม่มีประวัติการรักษาและยาเข้ามา ทางเรือนจำ/ทัณฑสถานจะทำการปรึกษา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาลแม่ข่ายเพื่อให้ผู้ต้องขังรายดังกล่าวได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที โดยพยาบาลประจำเรือนจำ/ทัณฑสถานสามารถไปรับยาแทนผู้ต้องขังได้ทันที มีคิวทางด่วนให้กับ เจ้าหน้าที่ในการประสานงานและรับยาแทนสำหรับผู้ต้องขังจิตเวช ปัญหาที่เกิดขึ้นสำหรับการดูแลผู้ต้องขังป่วยจิตเวชในปัจจุบันจะเป็นในส่วนของกรณีที่ ผู้ต้องขังป่วยจิตเวชบางรายมีพฤติกรรมปฏิเสธการรักษา หรือไม่ปฏิบัติตามแผนการรักษาของแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญที่ให้การรักษา ทำให้ผู้ต้องขังป่วยจิตเวชรายดังกล่าวมีสภาวะอาการทางจิตกำเริบ ยากต่อ การควบคุมตัวต่อในเรือนจำ/ทัณฑสถานเนื่องจากเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ในเรือนจำ/ทัณฑสถานนั้น ไม่มีความเชี่ ยวชาญเฉพาะด้านโดยตรงสำหรับการดูแลผู้ ป่วยจิตเวชที่ มีอาการกำเริบ อีกทั้ง สถานพยาบาลภายในเรือนจำ/ทัณฑสถานยังคับแคบไม่สะดวกต่อการดูแลผู้ต้องขังป่วยจิต เวชเป็น

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3