2566-3-ปวริศา เอียดทิม-วิทยานิพนธ์
91 ระยะเวลายาวนาน นำไปสู่ขั้นตอนของการส่งตัวต่อเพื่อไปรักษายังโรงพยาบาลที่รับผิดชอบ ซึ่งก็ทำได้ ยากเนื่องจากผู้ป่วยเป็นผู้ต้องขัง การติดต่อประสานงานและดำเนินการรักษาตามขั้นตอนต่างๆ จึง เป็นไปได้อย่างยากลำบาก เนื่องจากผู้ต้องขังป่วยที่จะต้องได้รับการรักษาตัวในโร งพยาบาลจะต้องมี เจ้าหน้าที่ของทางเรือนจำ/ทัณฑสถานไปเฝ้าและควบคุมตัวอย่างใกล้ชิดด้วย ซึ่งจะทำให้ทางด้าน เรือนจำ/ทัณฑสถานเองก็จะขาดกำลังของเจ้าหน้าที่ไปด้วย อีกทั้งการดำเนินการดังกล่าวยังใช้ ระยะเวลาในการดำเนินงานตามขั้นตอนต่างๆ อย่างล้าช้าอีกด้วย 5.2.3 ประเด็นปัญหากระบวนการก่อนปล่อยตัวผู้ต้องขัง พบว่า ทางเรือนจำ/ทัณฑสถานได้มีการสำรวจรายชื่อผู้ต้องขังที่มีประวัติการป่วยจิตเวช กับฝ่านทัณฑปฏิบัติที่จะได้รับการปล่อยตัวภายใน 1 ปีและทบทวนรายชื่อทุก 3 – 6 เดือน โดยให้ทำ การแสดงสัญลักษณ์ผู้ต้องขังจิตเวชไว้ในเล่มทะเบียนประวัติผู้ต้องขัง (รท. 101) เพื่อให้ง่ายต่อการ สังเกต และความสะดวกในการประสานงานกับส่วนควบคุม ดูแล และปล่อยตัวผู้ต้องขังจิตเวช รวมถึง การส่งต่อข้อมูลเพื่อสรุปข้อมูล เตรียมหนังสือส่งรักษาต่อ ตลอดจนการเตรียมยาทางจิตเวชให้กับ ผู้ต้องขังจิตเวชเมื่อปล่อยตัว อีกทั้งยังจัดให้มีหนังสือถึงสาธารณสุขจังหวัดในพื้นที่แจ้งรายชื่อผู้ต้องขัง ป่วยจิตเวชที่จะได้รับการปล่อยตัวภายใน 1 ปี เพื่อวางแผนในการเตรียมความพร้อมแก่ผู้ต้องขัง ญาติ และชุมชน กรณีที่ผู้ต้องขังจิตเวชไม่มีที่พักอาศัยหรือผู้อุปการะหลังการพ้นโทษ ให้เรือนจำประสานไป ยังศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง หรือสถานสงเคราะห์อื่นๆ ในพื้นที่ล่วงหน้าอย่างน้อย 6 เดือน เพื่อ เตรียมการรองรับผู้ต้องขังป่วยจิตเวชภายหลังพ้นโทษจะต้องจัดให้มีการประเมินอาการผู้ต้องขังจิตเวช ก่อนปล่อยตัวทุกราย หากพบว่า ผู้ต้องขังจิตเวชก่อนจำเป็นต้องเข้ารับการบำบัดรักษา ทางเรือนจำ/ ทัณฑสถานจะพิจารณาส่งต่อเพื่อพบจิตแพทย์ก่อนได้รับการปล่อยตัว หรือส่งตัวไปรักษาต่อที่ โรงพยาบาลจิตเวช หรือโรงพยาบาลศูนย์ หรือโรงพยาบาลทั่วไป ที่อยู่ในพื้นที่หรือใกล้เคียง ตามความ เหมาะสม โดยทำหนังสือส่งตัวผู้ต้องขังตามแบบหนังสือส่งตัวรักษาตามพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 มาตรา 22 และมาตรา 251 และให้แนบแบบประเมินสภาพผู้ต้องขังจิตเวชในเรือนจำ/ ทัณฑสถาน พร้อมหมายปล่อยตัวไปยังโรงพยาบาลและประสานแจ้งให้ญาติของผู้ขังทราบ แต่ผู้ต้องขัง ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการบำบัดรักษา ให้ดำเนินการจัดเตรียมข้อมูลประวัติการรักษาขณะที่ถูกคุมขังอยู่ ในเรือนจำ/ทัณฑสถาน และติดต่อญาติผู้ดูแลผู้ต้องขังหลังปล่อยตัว และแจ้งข้อมูลเรื่องการรักษา รวมถึงสิทธิการรักษาและการส่งต่อ เพื่อให้ผู้ต้องขังได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง เมื่อผู้ต้องได้รับ การปล่อยตัวไปแล้วให้มอบหนังสือส่งตัวและยาทางจิตเวชให้ผู้ต้องขังจิตเวช ให้มีพอรับประทานอย่าง น้อย 2 – 4 สัปดาห์ ภายหลังจากพ้นโทษไปแล้ว ทั้งนี้ก่อนการปล่อยตัวผู้ต้องขังจิตเวช ทางเรือนจำ/ ทัณฑสถานจะมีการจัดประชุม และทำหนังสือถึงสำนักงานสาธารณะสุขจังหวัดในพื้นที่เรือนจำหรือ ทัณฑสถาน สำนักงานสาธารณะสุขจังหวัดที่ผู้ต้องขังจะกลับไปอยู่อาศัย และโรงพยาบาลจิตเวชที่ รับผิดชอบในพื้นที่ เพื่อจัดทำแผนการเตรียมความพร้อม การดูแล และการติดตามผู้ต้องขังป่วยจิตเวช ภายหลังจากที่พ้นโทษให้ได้รับการบำบัดรักษาอย่างต่อเนื่อง ต่อมาในส่วนของการปล่อยตัวต้องขังที่ไม่ มีประวัติการรักษาอาการป่วยทางจิตเวชนั้น ทางเรือนจำ/ทัณฑสถานจะดำเนินการตรวจคัดกรอง สุขภาพจิตผู้ต้องขังก่อนได้รับการปล่อยตัวทุกราย และอาจประสานขอความร่วมมือจาดสำนักงาน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3