2566-3-ปวริศา เอียดทิม-วิทยานิพนธ์

93 “ผู้ต้องขังป่วยจิตเวช” หมายความว่า นักโทษเด็ดขาด คนต้องขัง และคนฝากขัง ที่มีมีอาการทาง จิตใจหรือพฤติกรรมที่ทำให้ผู้ป่วยมีความบกพร่องในกิจวัตรต่างๆ “เจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพจิต” หมายความว่า ผู้ซึ่งอธิบดีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติ ราชทัณฑ์ พ.ศ.2560 “อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ข้อ 5 ให้อธิบดีกรมราชทัณฑ์รักษาการตามระเบียบนี้ มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาเกี่ยวกับการ ปฏิบัติตามระเบียบนี้ ลักษณะ 1 หน้าที่และอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ ข้อ 6 เจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพจิต ได้แก่ (1) ผู้บัญชาการเรือนจำ (2) พยาบาลประจำเรือนจำ (3) นักจิตวิทยาประจำเรือนจำ (4) นักสังคมสงเคราะห์ประจำเรือนจำ ข้อ 7 ให้เจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพจิตทำการตรวจประเมิณสุขภาพจิตผู้ต้องขังด้วยแบบประเมิณ ในช่วงรับตัวผู้ต้องขัง หากไม่สามารถทำได้ทันที ให้ดำเนินการภายใน 1 เดือน หลังจากรับตัว พร้อม ทั้งให้เก็บผลการประเมินไว้ใน รท.101 ของผู้ต้องขังแต่ละราย และบันทึกข้อมูลในระบบข้อมูล ผู้ต้องขัง ต่อมาให้เจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพจิตในเรือนจำและทัณฑสถาน ประชุมร่วมกันเพื่อแบ่งหน้าที่ความ รับผิดชอบในการดำเนินงาน และกำหนดแนวทางการดำเนินแนวทางดำเนินงานให้การส่งเสริม สุขภาพจิตผู้ต้องขัง หรือเรียกว่า คลินิกคลายเครียด พร้อมประชาสัมพันธ์การจัดการดังกล่าว และ จัดทำกล่อง/ตู้ขอรับคำปรึกษาติดประจำทุกแดน พร้อมติดตารางการให้บริการปรึกษาที่ระบุวัน - เวลา และชื่อผู้ปฏิบัติงาน ทั้งนี้เรือนจำ/ทัณฑสถานจะต้องสรุปรายงานการดำเนินงานคลินิกคลาย เครียด และให้รายงานกรมราชทัณฑ์ทราบเป็นประจำทุก 6 เดือน ข้อ 8 ให้เรือนจำ/ทัณฑสถาน ดำเนินการสร้างเครือข่ายผู้ต้องขังช่วยเหลืองานด้านสุขภาพจิต ภายในเรือนจำ/ทัณฑสถาน โดยการจัดอบรมให้ความรู้ และฝึกปฏิบัติแก่ผู้ ต้องขังป่วยจิตเวช ดำเนินการเผยแพร่และส่งเสริมการดูแลสุขภาพจิตและจิตเวชแก่ผู้ต้องขังด้วยการให้ความรู้สุขภาพจิต จากการแจกเอการแผ่นพับ การจัดบอร์ด การจัดเสียงตามสาย การพูดตอนเช้าหลังเคารพธงชาติ เป็น ต้น มีการให้บริการตรวจรักษาโดยเริ่มจากจัดทีมบุคลากรให้บริการสุขภาพจิตและจิตเวชสำหรับ ผู้ต้องขังในเรือนจำ จัดระบบบริการสุขภาพจิตและจิตเวชช่องทางพิเศษในเรือนจำสำหรับผู้ต้องขัง เช่น Telepsychiatry ระบบปรึกษาทางโทรศัพท์

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3