2566-3-ปวริศา เอียดทิม-วิทยานิพนธ์

94 ลักษณะ 2 การรับและการปล่อยตัว ข้อ 9 กลุ่มผู้ต้องขังที่ต้องทำการตรวจประเมินสุขภาพจิต ประกอบด้วย (1) ผู้ต้องขังเข้าใหม่ทุกราย (2) ผู้ต้องขังที่สงสัยว่าอาจมีปัญหาสุขภาพจิตหรือพบภาวะอันตรายทั้งตัวผู้ต้องขังทั่วไป และ ผู้ต้องขังป่วยคดี (3) ผู้ต้องขังเหลือโทษ 6 เดือน ก่อนพ้นโทษ (4) ผู้ต้องขังส่งคำร้องใส่กล่องหรือตู้ขอรับคำปรึกษา (5) ผู้ต้องขังหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอดบุตร (6) ผู้ต้องขังที่ถูกทารุณกรรมทั้งร่างกายและจิตใจ ข้อ 10 การปล่อยตัวผู้ต้องขังจิตเวชที่มีประวัติการรักษาอาการป่วยทางจิตเวช ดำเนินการ โดย การสำรวจรายชื่อผู้ต้องขังจิตเวชกับฝ่านทัณฑปฏิบัติที่จะได้รับการปล่อยตัวภายใน 1 ปีและทบทวน รายชื่อทุก 3 – 6 เดือน โดยให้ทำการแสดงสัญลักษณ์ผู้ต้องขังจิตเวชไว้ในเล่มทะเบียนประวัติ ผู้ต้องขัง (รท.101) เพื่อให้ง่ายต่อการสังเกต และความสะดวกในการประสานงานกับส่วนควบคุม ดูแล และปล่อยตัวผู้ต้องขังจิตเวช รวมถึงการส่งต่อข้อมูลเพื่อสรุปผล เตรียมหนังสือส่งรักษาต่อ ตลอดจน การเตรียมยาทางจิตเวชให้กับผู้ต้องขังจิตเวชเมื่อปล่อยตัว จัดให้มีหนังสือถึงสาธารณสุขจังหวัดในพื้นที่แจ้งรายชื่อผู้ต้องขังป่วยจิตเวชที่จะได้รับการปล่อย ตัวภายใน 1 ปี เพื่อวางแผนในการเตรียมความพร้อมแก่ผู้ต้องขัง ญาติ และชุมชน กรณีที่ผู้ต้องขังจิต เวชไม่มีที่พักอาศัยหรือผู้อุปการะหลังการพ้นโทษ ให้เรือนจำประสานไปยังศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง หรือสถานสงเคราะห์อื่นๆ ในพื้นที่ล่วงหน้าอย่างน้อย 6 เดือน เพื่อเตรียมการรองรับผู้ต้องขังป่วยจิต เวชภายหลังพ้นโทษจะต้องจัดให้มีการประเมินอาการผู้ต้องขังจิตเวชก่อนปล่อยตัวทุกราย ข้อ 11 กรณีผู้ต้องขังจิตเวชก่อนปล่อยตัวมีภาวะอันตรายและจำเป็นต้องเข้ารับการบำบัดรักษา เช่น มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง มีภาวะอันตราย มีแนวโน้มอันตรายเนื่องจากไม่ให้ความร่วมมือในการ รักษา มีพฤติกรรมที่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินทั้งต่อตน เองและ ผู้อื่น หรือไม่สามารถปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษา ให้ เจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพจิตทำหนังสือส่งตัว ผู้ต้องขังตามแบบหนังสือส่งตัวรักษาตามพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 มาตรา 22 และ มาตรา 251 เพื่อให้ผู้ต้องขังนั้นเข้าพบจิตแพทย์ก่อนได้รับการปล่อยตัว หรือส่งตัวไปรักษาต่อที่ โรงพยาบาลจิตเวช หรือโรงพยาบาลศูนย์ หรือโรงพยาบาลทั่วไป ที่อยู่ในพื้นที่หรือใกล้เคียงตามความ เหมาะสม และให้แนบแบบประเมินสภาพผู้ต้องขังจิตเวชในเรือนจำหรือทัณฑสถาน พร้อมหมาย ปล่อยตัวไปยังโรงพยาบาลและประสานแจ้งให้ญาติของผู้ขังทราบ ข้อ 12 ดำเนินการจัดเตรียมข้อมูลประวัติการรักษาขณะที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำหรือทัณฑสถาน และติดต่อญาติผู้ดูแลผู้ต้องขังหลังปล่อยตัว และแจ้งข้อมูลเรื่องการรักษารวมถึงสิทธิการรักษาและ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3