2566-3-ปวริศา เอียดทิม-วิทยานิพนธ์

95 การส่งต่อ เพื่อให้ผู้ต้องขังได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง และมอบหนังสือส่งตัวและยาทางจิตเวช ให้ผู้ต้องขังจิตเวช ให้มีพอรับประทานอย่างน้อย 4 สัปดาห์ภายหลังจากพ้นโทษไปแล้ว ข้อ 13 การปล่อยตัวผู้ต้องขังที่ไม่มีประวัติการรักษาอาการป่วยทางจิตเวช ให้ เจ้าหน้าที่ทีม สุขภาพจิตดำเนินการตรวจคัดกรองสุขภาพจิตผู้ต้องขังก่อนได้รับการปล่อยตัวทุกราย โดยอาจ ประสานขอความร่วมมือจาดสำนักงานสาธารณะสุขจังหวัดในพื้นที่ให้เข้าร่วมดำเนินการคัดกรอง กรณีผู้ต้องขังที่ได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพจิตและพบว่ามีอาการทางจิตเวช ให้พิจารณาส่ง ต่อเพื่อพบจิตแพทย์ก่อนจะได้รับการปล่อยตัว เพื่อส่งต่อไปรักษาที่ โรงพยาบาลจิตเวช หรือ โรงพยาบาลศูนย์ หรือโรงพยาบาลทั่วไปที่อยู่ในพื้นที่หรือใกล้เคียงหลังการพ้นโทษตามความเหมาะสม ข้อ 14 ในวันปล่อยตัวผู้ต้องขังจิตเวช เจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพจิตจะต้องดำเนินการแจ้งให้ญาติ โรงพยาบาล หรือสถานสงเคราะห์ มารับตัวผู้ต้องขัง โดยให้ผู้ที่มารับตัวลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มรับ ตัวผู้พ้นโทษ ในกรณีผู้ต้องขังป่วยจิตเวชต้องเดินทางกลับเอง ผู้ต้องขังป่วยจิตเวชรายนั้นจะต้องได้รับการ วินิจฉัยจากแพทย์แล้วว่าอยู่ในสภาวะคงที่ ช่วยเหลือตัวเองได้ โดยให้ผู้ต้องขังป่วยจิตเวชลงชื่อใน แบบฟอร์มรับตัวผู้ต้องขังป่วยจิตเวชพ้นโทษ และมีเจ้าหน้าที่เซ็นรับรองเป็นพยานด้วย 2 คน ทั้งนี้ ใน การปล่อยตัวผู้ต้องขังป่วยจิตเวชจะต้องมีการรายงานกรมราชทัณฑ์ ภายใน 24 ชั่วโมง และส่งรายงาน แก่ผู้บังคับบัญชาโดยใส่รายละเอียดขั้นตอนการปล่อยตัวผู้ต้องขังป่วยจิตเวชแยกแต่ละบุคคลให้ ครบถ้วน ข้อ 15 กรณีผู้ต้องขังจิตเวชมีแนวโน้มเร่ร่อน และไม่มีญาติจะได้รับการปล่อยตัว ให้ดำเนินการ ประสานศูนย์คนไร้ที่พึ่ง หรือหน่วยงานสงเคราะห์และสวัสดิการในพื้นที่ โดยแจ้งล้วงหน้าไปยัง หน่วยงานดังกล่าวอย่างน้อย 6 เดือน เพื่อเตรียมการรองรับผู้ต้องขังจิตเวชที่ไม่มีญาติหรือที่พักอาศัย ภายหลังจากพ้นโทษ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3