2566-3-ปวริศา เอียดทิม-วิทยานิพนธ์
บทที่ 1 บทนำ 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา โรคทางจิตเวชเป็นกลุ่มอาการผิดปกติเรื้อรังทางจิตใจ พฤติกรรม อารมณ์และบุคลิกภาพ ส่งผล เสียต่อการประกอบอาชีพ การดำเนินชีวิตประจำวันและความสัมพันธ์ กับผู้อื่นในสังคม ปัจจุบันระบบ ที่ ใช้ จำแนกโรคทางจิ ตเวช มี 2 ระบบ คื อ Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders Fifth Edition (DSM-V) และ International Classification of Diseases 10-version (ICD-10) ครอบคลุมโรคจิตเวชหลักที่พบในผู้ใหญ่ เช่น โรคจิตเภท (schizophrenia) ซึมเศร้า (major depressive disorder) วิตกกังวล (anxiety disorder) อารมณ์แปรปรวนสองขั้ว (bipolar disorder) และความผิดปกติทางจิตที่เกิดจากการใช้สารเสพติด (ณัฏฐพล สัมประสิทธิ์ & วิวัฒน์ ถาวรวัฒนยงค์, 2561) ปัจจุบันการจัดการดูแลสุขภาพจิตของรัฐถูกกำหนดเอาไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566-2570) ได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศเอาไว้ 10 ข้อ ด้วยกัน ซึ่ งมีความเชื่ อมโยงกับงานด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะในด้านงานสุขภาพจิต ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความเป็น ธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม และยุทธศาสตร์ที่ 6 การบริหารจัดการในภาครัฐการป้องกันการ ทุจริตประพฤติมิชอบและธรรมาภิบาลในสังคมไทย (แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566-2570), 2565) ถึงแม้ว่ารัฐจะมีนโยบายในการจัดการต่อโรคทางจิตเวช แต่ก็พบว่าจำนวนผู้ป่วยด้านสุขภาพจิตมี แนวโน้มสูงขึ้นทุกปี ดูได้จากสถิติจำนวนผู้ป่วยในจิตเวชเฉลี่ยต่อวัน หน่วยงานในสังกัดกรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2556 - 2566 (ตุลาคม 2565) (หน่วยนับ : ราย) (ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต) ภาพที่ 1 สถิติจำนวนผู้ป่วยในจิตเวชเฉลี่ยต่อวัน หน่วยงานในสังกัดกรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2556 - 2566
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3