2566-3-ปวริศา เอียดทิม-วิทยานิพนธ์
2 โรคทางจิตเวชโดยเฉพาะผู้ป่วยโรคจิตที่เป็นผู้ป่วยที่มีการสูญเสียการหยั่งรู้ตนเองหรือสูญเสียการ เข้าใจสภาพความเจ็บป่วยของตนเอง ความสามารถในการตอบสนองต่อความต้องการที่จำเป็นในการ ดำรงชีวิตลดลง ความรู้สึกนึกติดหรือพฤติกรรมต่างๆ ไม่อยู่ในโลกของความเป็นจริง ทั้งนี้องค์การ อนามัยโลกคาดการณ์ว่า ในปี พ.ศ.2563 ทั่วโลกจะมีผู้ป่วยทางจิตเวชเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 ของการ เจ็บป่วยทุกโรครวมกัน (สุนทรีภรณ์ ทองไส, 2557) ส่วนด้านระบบบริการสุขภาพจิตนั้น คาดการณ์ว่า จะมีผู้มีปัญหาทางสุขภาพจิตที่จำเป็นต้อง ได้รับการช่วยเหลือประมาณ 10 ล้านคน แต่มีผู้เข้าถึง บริการด้านสุขภาพจิตได้แค่เพียงร้อยละ 8 เท่านั้น ปัญหานี้เป็นปัญหาที่สำคัญโดยเฉพาะผู้ป่วยจิตเวชที่มีอาการอยู่ใน ระยะคงเสถียรสภาพ (stabilization phase) และระยะต่อเนื่ อง (maintenance phase) หลั งจากที่ มีอาการทางจิต เฉียบพลัน (acute phase) แล้ว เพราะหากผู้ป่วยไม่ได้เข้า ถึงการบริการสุขภาพจิตอย่างสม่ำเสมอก็ อาจทำให้ควบคุม อาการทางจิตไม่ได้และมีโอกาสกลับเป็นซ้ำได้บ่อยๆ ในผู้ป่วยจิตเวชทั่วไปจะมี โอกาสเป็นซ้ำ (ครั้งที่ 1) ได้มากถึง ร้อยละ 35-50 และในกลุ่มที่เคยเป็นซ้ำครั้งที่ 1 แล้ว โดยเฉพาะ ผู้ป่วยจิตเภทจะยิ่งเพิ่มโอกาสกำเริบซ้ำในครั้งที่ 2 และ 3 ได้สูงขึ้นอีกถึงร้อยละ 70-90 ปัจจัยที่ทำให้ เกิด อาการกำเริบซ้ำทั้งหมดนี้ส่วนใหญ่เกิดจากการไม่ให้ความร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วยเอง เช่น หยุดยาเอง ปรับขนาดยาเอง ส่วนผลกระทบนั้น นอกจากจะมีผลต่ออาการทางคลินิกของผู้ป่วย โดยตรงแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อ สุขภาพจิตของผู้ดูแลและผลลัพธ์ทางด้านเศรษฐศาสตร์อีกด้วย โดย พบว่าทำให้รัฐมีต้นทุนการรักษาพยาบาลผู้ป่วย จิตเวชที่มีอาการกำเริบหรือกลับเป็นซ้ำเพิ่มสูงขึ้น และอาจสูงถึง 1.2-2 เท่าของต้นทุนการดูแลผู้ป่วยจิตเวชปกติ (ณัฏฐพล สัมประสิทธิ์ & วิวัฒน์ ถาวร วัฒนยงค์, 2561) จากข้อมูลของกองยุทธศาสตร์และแผนงานกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข พบว่ามีเพียง ร้อยละ 11 ที่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาโดยชุมชน ร้อยละ 21 ได้รับยารักษาและอาการดีขึ้น จากการ ติดตามจะพบว่าร้อยละ 39 ผู้ป่วยขาดการดูแลจากที่บ้านและชุมชนซึ่งอาจส่งผลต่อการกำเริบของ อาการทางจิตเวชขึ้นมาได้ เช่นเดียวกับข้อมูลการเข้าถึงบริการสุขภาพจิตและจิตเวชพบว่าผู้ป่วยสุภาพ จิตเข้าถึงบริการในการรักษาต่ำกว่าโรคทางกายอันเนื่องมาจากทัศนคติ การยอมรับการรักษา และ การพัฒนาระบบบริการที่ยังไม่เพียงพอ ( นพรุจ สันติวิจิตรกุล , 2563) ตามพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 มาตรา 3 ได้ให้ความหมายของคำว่า “ความผิดปกติ ทางจิต” ไว้ว่า อาการผิดปกติของจิตใจที่แสดงออกมาทางพฤติกรรมอารมณ์ ความ คิด ความจำ สติปัญญา ประสาทการรับรู้ หรือการรู้ เวลา สถานที่ หรือบุคคล รวมทั้งอาการผิดปกติของจิตใจที่เกิด จากสุรา หรือสารอื่นที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551, 2551) ผู้ป่วยจิตเวชบางส่วนที่เป็นผู้กระทำความผิดและเกิดเป็นคดีทางอาญา เนื่องจากอาการของโรคที่ มีอยู่ โดยเฉพาะในรายที่ไม่ได้รับการรักษาหรือขาดยา ปัญหาการกระทำความผิดรุนแรงที่เกิดจากการ เจ็บป่วยทางจิตหรือผู้ป่วยจิตเวชนั้น ในความเป็นจริงแล้วเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก เมื่อเปรียบเทียบกับการ กระทำความผิดจากบุคคลที่ สภาพจิตปกติ แต่ทำให้เกิดความหวาดกลัวและกระทบต่อสังคม (พูนพัฒน์ กมลวุฒิพงศ์, 2565) ข้อมูลจากสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลสังกัดกรม สุขภาพจิตที่ได้ให้การวินิจฉัยและบำบัดรักษาผู้ป่วยจิตเวชที่กระทำผิดทางอาญาหรือผู้ป่วยนิติจิตเวช
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3